Archive for มิถุนายน 2013

9 สุดยอดนายจ้างปี′56 “ทรัพยากรบุคคลคือความท้าทายหลัก“


จากการประกาศรางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี 2556 โดยการสำรวจของบริษัท เออน ฮิววิท ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี 9 องค์กรได้รับรางวัล Best Employer ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
บริษัท แอดวานซ์ คอนแท็ค เซ็นเตอร์ จำกัด
บริษัท ดีเอชแอล เอ็กซ์เพรส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท มาร์ส ไทยแลนด์ อิงค์ จำกัด
บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน)
ซิซซ์เล่อร์ (บริษัท เอส แอล อาร์ ที จำกัด)
ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
เดอะ พิซซ่า คอมปะนี
และรางวัล Best of the Best สำหรับ บริษัท แมคไทย จำกัด

"เฮ สเตอร์ ชิว" ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมคไทย จำกัด เปิดเผยว่า แมคโดนัลด์เน้นให้พนักงานมีความสุขกับการทำงาน
"เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้าทำงาน เขาต้องมีทัศนคติที่ดีต่องานบริการซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรของเรา โดยเราจะผลักดันให้หัวหน้างานมีความผูกพันกับน้อง ๆ พนักงาน ทั้งนี้ ต้องมีการปฏิสัมพันธ์ หรือต้องทำงานด้วยกัน"
"การที่จะให้คนเลือกทำงานกับบริษัทจะต้องทำองค์กรให้โดดเด่น และแตกต่างจากแบรนด์อื่น ด้วยการสร้างองค์กรให้เหมือนแม่เหล็กที่จะดึงดูดคนเก่งเข้ามา และรักษาคนที่มีอยู่แล้วให้อยู่กับองค์กรนาน ๆ โดยมองว่าการทำ Employer Branding จะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ระยะยาว เพราะนี่คือความท้าทายที่วันนี้คนมีตัวเลือกในการทำงานมากขึ้น แล้วจะทำอย่างไรที่จะทำให้คนเลือกแมคโดนัลด์เป็นที่แรก"
นอกจากนั้น ปีนี้ยังมีการเพิ่มรางวัลพิเศษขึ้นมา 2 รางวัล คือรางวัลนายจ้างดีเด่นที่มีความเป็นเลิศในการดูแลพนักงานเจเนอเรชั่นวาย (Best Employer for Generation Y) และรางวัลนายจ้างดีเด่นที่ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในความมุ่งมั่นเพื่อยก ระดับความผูกพันของพนักงาน (Best Employer Commitment to Engagement) โดยรางวัลแรกถูกมอบให้แก่บริษัท แอดวานซ์ คอนแท็ค เซ็นเตอร์ จำกัด ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
"วิลาสินี พุทธิการันต์" หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการบริการลูกค้า บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมีพนักงานประมาณ 3,000 คน และกว่า 80% เป็นพนักงาน Gen Y
อย่างไรก็ตาม ในองค์กรมีพนักงานทุกเจเนอเรชั่น จึงต้องเข้าใจก่อนว่าคนแต่ละวัยคิดอย่างไร แล้วจะทำอย่างไรเพื่อผสมผสานพวกเขาเข้าด้วยกัน และมองไปที่จุดมุ่งหมายเดียวกันคือการโฟกัสการทำงานกับลูกค้า
"สิ่งสำคัญคือทุกคนเข้าใจวิสัยทัศน์ของบริษัทหรือไม่ เรามีกรอบหรือแนวคิดให้พนักงานจับต้อง และสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยเรามุ่งเน้นเรื่องคุณภาพเป็นสำคัญ"
ด้านรางวัล Best Employer Commitment to Engagement มอบให้กับ บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) โดย "พ.ญ.สมสิริ สกลสัตยาทร" กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมองความรู้สึกของพนักงานเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเขาคือตัวแทนของโรงพยาบาล โดยได้ใช้แนวคิดของโรงพยาบาลที่ว่า "Journey of Care" อันประกอบด้วย "We Care, We Give, We Grow" มาใช้กับพนักงาน กล่าวคือ บริษัทต้องแคร์คนของเราก่อนที่จะให้เขาหยิบยื่นความรู้สึกที่ดีให้กับคนไข้ ซึ่งจะสร้างให้พนักงานรู้คุณค่าของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานตำแหน่งใดก็ตาม
"เราให้พนักงานฝึกตัวเอง โดยโรงพยาบาลจะมีกล่องทำความดี ถ้าเขาเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ และไม่รู้จะระบายออกที่ไหน ก็ให้หย่อนเงินลงไป เหมือนกับเขาได้เกิดความรู้สึกดีที่เห็นแล้วว่าเกิดความรู้สึกไม่ดีกับตัว เอง เมื่อไหร่ที่กล่องเต็มก็หมายความว่าความรู้สึกถูกเยอะ เปรียบได้ว่ายิ่งเห็นผิดเท่าไรแสดงว่ายิ่งถูกมากขึ้นเท่านั้น พนักงานได้ฝึกความรู้สึกไปเรื่อย ๆ"
นอกจากนั้น บริษัท เอออน เฮวิท ยังสำรวจพบว่าเทรนด์จากผลการศึกษานายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี 2556 มีดังนี้

1) ผู้ได้รับเลือกเป็นนายจ้างดีเด่นบรรลุผลเติบโตทางเศรษฐกิจในแง่รายได้สูงกว่าอื่น ๆ 33% โดยมีอัตราการลาออกเพียง 8%

2) ซีอีโอเกือบ 80% ขององค์กรทั้งหมดที่เข้าร่วมศึกษาระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า ประเด็นเรื่องทรัพยากรบุคคลเป็นความท้าทายหลักของการดำเนินธุรกิจ
3) บริษัทที่ได้รับรางวัลนายจ้างดีเด่นมีคะแนนความผูกพันพนักงานต่อองค์กรสูง อยู่ที่ค่าเฉลี่ยระหว่าง 83% และ 62%

4) มีการเน้นย้ำเกี่ยวกับแบรนด์นายจ้าง ด้วยการสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวองค์กร, การเรียนรู้และพัฒนา และยกย่องชมเชยพนักงาน
5) องค์กรนายจ้างดีเด่นทั้งหมดมีขั้นตอนการคัดเลือกกลุ่มพนักงานที่มีศักยภาพ สูง และมีการเติมเต็มตำแหน่งว่าง 48% ขณะที่องค์กรอื่นอยู่ที่ 21% 
6) องค์กรที่เน้นการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงมีการแสดงออกชัดเจนใน เรื่องการมีความรับผิดชอบ ซึ่งพนักงานรู้สึกได้ว่าตัวเองได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างาน และองค์กรเล็งเห็นความสำคัญโดยให้การยกย่องผู้ทำงานจริง
ทั้งนี้ พนักงาน 73% จากองค์กรที่ได้รับรางวัลมีความเห็นตรงกันว่าได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมกับผลงานที่ทำให้กับบริษัท

พี่แฮนด์ คิดว่าถ้าบริษัทอย่างนี้เยอะๆคงจะดีมากเลยนะครับ อิอิ


ที่มา ประชาชาติ 

10 สุดยอดความน่ากลัว/เรื่องมากของดาราดัง



อันดับ 10.....เจอร์รี่ ฮัลลิเวลล์ [Geri Halliwell] 



นัก ร้องสาวหนึ่งในอดีตสมาชิกสไปซ์เกิร์ล แต่ตอนนี้เธอผันตัวเองมาเป็นนักร้องเดี่ยวแล้ว และถึงแม้ว่าความดังของเธอจะไม่เปรี้ยงปร้างเท่าสมัยก่อน เธอก็ยังรักชีวิตที่หรูหราอยู่ดี

ตำนานความน่ากลัว
เมื่อคราวที่ เธอต้องไปร้องเพลงปลอบขวัญบรรดาทหารอังกฤษที่ประจำการอยู่ที่แถวตะวันออก กลาง เธอร้องขอไม่มากหรอก แค่เต็นท์พักผ่อนที่ติด เครื่องปรับอากาศภายใน ตู้เย็นที่เต็มไปด้วยนมถั่วเหลืองและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถต่อเข้า อินเตอร์เน็ตได้ เธอจะนำน้องหมาคู่ใจไปด้วยทุกที่ แม้แต่ในห้องประชุมที่เต็มไปด้วยผู้หลักผู้ใหญ่ในชุดสูทก็เถอะ ระหว่างการถ่ายทำรายการ "Pop Idol" ในประเทศอังกฤษ (รายการที่ผู้ชมทางบ้าน แข่งกันร้องเพลงคล้าย The Star) เธอตอบตกลงที่จะเป็นดารารับเชิญในรายการ หากเธอเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องมุมกล้องที่ถ่ายเธอเองทั้งหมด
เท่านั้นยัง ไม่พอ เธอยังห้ามไม่ให้ผู้เข้าประกวดร้องเพลงของเธออีกด้วย ในงานคอนเสิร์ตรวมนักร้องครั้งหนึ่ง เจอร์รี่พักอยู่ที่โรงแรมดังของเมืองโดย เธอได้เช่าทุกห้องที่อยู่ชั้นเดียวกับเธอ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะสาเหตุเดียว คือเธอไม่ต้องการเดินชนกับบรรดานักร้องคนอื่น (ที่เธอไม่ค่อยจะถูกชะตาด้วย)

*** คะแนนความน่ากลัว = 60% ***
อันดับ 9.....รอบบี้ วิลเลี่ยมส์ [Robbie Williams] 



นัก ร้องดังที่เริ่มต้นอาชีพจากวงดนตรีสุดฮ้อต (เมื่อสิบปีที่แล้ว) ตอนนี้เขากลายเป็นนักร้องเดี่ยวที่มีลีลาเป็นของตัวเอง และงานเพลงของเขาเคยสร้างผลงานติดอันดับท็อปจำนวนมาก ทำให้ร็อบบี้ได้รับการดูแลอย่างดีในทุก ๆ ที่ที่เขาไป

ตำนานความน่ากลัว
เมื่อ คราวที่ร็อบบี้ไปเวียนนา เขาได้เช่าห้องทั้งหมดในโรงแรมรวม 71 ห้อง เพื่อเขาจะได้อยู่อย่างสงบและไม่มีการรบกวนจากบรรดาแฟนเพลงร็อบบี้เคยปฏิเสธ ที่จะออกเดินทาง ถ้าบรรดาผู้ติดตามของเขามีไม่ครบหมดทั้ง 140 คน เขาเรียกร้องให้ผู้จัดงานเตรียมห้องแต่งตัวไว้ให้เขาโดยให้มีของเหล่านี้ อยู่ในห้องด้วย บาร์ค็อกเทลพร้อมเครื่องดื่มโปรดของเขา ต้นบอนไซและโปสเตอร์ดารานำ หนังที่เขาชื่นชอบตั้งแต่เด็ก

*** คะแนนความน่ากลัว = 64% ***
อันดับ 8.....นาโอมิ แคมป์เบลล์ [Naomi Campbell] 



ใน วงการสุดยอดนางแบบ ไม่มีใครไม่รู้จักเธอเพราะเธอเป็นซูเปอร์โมเดลผิวหมึกระดับแนวหน้า ที่บรรดาดีไซเนอร์ชื่อดังของโลกต่างก็ต้องการตัว

ตำนานความน่ากลัว
เมื่อ ปี 1998 ชื่อเสีย(ง) นาโอมิดังใช้ได้ทีเดียว เมื่อเธอยอมรับเคยใช้กำลังลงมือลงไม้กับผู้ช่วย ถ้าเขาทำให้เธอโมโหสุด เป็นอันรู้กันดีในวงการว่านาโอมิมักจะมาสายกว่าเวลาที่นัดเป็นประจำ เมื่อปี 1993 เธอเคยถูกไล่ออกจากเอเจนซี่ชื่อดัง Elite เหตุก็เพราะบรรดาพนักงานต่างก็ไม่มีใครสามารถทำงานกับเธอได้ นอกจากนั้นเธอเป็นเจ้าวางแผน อารมณ์เสียง่ายและก็หยาบคาย เธอจะทำกับพวกเราเหมือนข้าทาสเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างไรนาโอมิก็ทำให้ เอเจนซี่ใจอ่อนทีหลังและทั้งสองก็คืนดีกัน เมื่ออยู่หลังเวที เธอมักจะมีชื่อในด้านการสร้างความโกลาหลให้กับพนักงาน เพราะเธอ
จะกรีดร้องสุดเสียง หากมีใครทำอะไรให้เธอไม่พอใจ

*** คะแนนความน่ากลัว = 72% ***
อันดับ 7.....คริสทีน่า อากีเลร่า [Christina Aguilera] 



นักร้องเพลงป๊อปสุดแสนจะเซ็กซี่ที่มีเพลงติดชาร์ทอยู่หลายเพลง และเจ้าของสไตล์การแต่งตัวที่ไม่ค่อยมีบรรดาแฟนเพลงแต่งตามเท่าไร

ตำนานความน่ากลัว
คริ สทิน่าเกลียดรถติดเป็นที่สุด เธอไม่ยอมติดแหง็กอยู่บนถนนที่รถติดไม่ขยับแน่ ๆ เพราะอย่างนั้นเลยต้องมีรถตำรวจวิ่งนำขบวนของเธอทุกครั้งเวลาที่ต้อง เดินทางไปสถานที่จัดคอนเสิร์ต ในจำนวนของที่เธอเรียกร้องในห้องพักหลังเวทีมีตั้งแต่ชีสหายากราคาแพงไปจน ถึงวิตามินลายการ์ตูนที่เธอชื่นชอบ ระหว่างการแสดงในไนท์คลับแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน คริสทิน่าเคยเรียกร้องไม่ให้ทุกคนสูบบุหรี่ (รวมถึงบรรดาผู้ชม) เจ้าหน้าที่ต้องวุ่นวายกับการกำจัดกลิ่นบุหรี่ให้หมดไปก่อนนั่นล่ะ คริสทิน่าถึงจะยอมก้าวเท้าขึ้นเวที

*** คะแนนความน่ากลัว = 78% ***
อันดับ 6.....จัสติน ทิมเบอร์เลค [Justin Timberlake] 



นักร้องเสียงเล็กที่แตกตัวมาจากวงบอยแบนด์เอ็กซ์ซิ้งค์ ความต้องการของเขาน่ากลัวจนทำให้แฟนเก่าอย่างบริทนี่ย์ต้องอายเลยทีเดียว

ตำนานความน่ากลัว
เมื่อ คราวที่เขาไปแสดงคอนเสิร์ตที่ประเทศอังกฤษ บรรดาแฟน ๆ ต่างก็ต้องตกใจเมื่อเขาต้องยกขบวนคนติดตามจำนวนมากถึง 90 คนไปด้วยทุกที่แล้วเวลาเข้าพักในโรงแรมต่างประเทศ จัสตินมักเรียกร้องให้โรงแรมติดกระจกไว้ที่ใต้เพดานในห้องนอนของเขา นอกจากนี้พนักงานโรงแรมยังไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยได้โดยตรงอีกด้วย เมื่อจัสตินต้องทำธุระในห้องน้ำนอกสถานที่ เขามีบอดี้การ์ดสองคนยืนอยู่ข้างหน้าห้องน้ำตลอดเวลา

*** คะแนนความน่ากลัว = 80% ***
อันดับ 5.....เอลตัน จอห์น [Elton John] 



สำหรับ นักร้องดังอย่างเอลตัน จอห์น ด้วยชื่อหน้าที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นถึง "เซอร์" บวกกับอายุที่มากพอที่คนรอบข้างจะยำเกรงแล้ว เขายังสามารถทำให้คนอื่นเกรงใจได้อย่างไม่ต้องเอ่ยปากเลยทีเดียว

ตำนานความน่ากลัว
เอ ลตันเคยให้คนสนิทของเขาโทร.หาผู้จัดการในโรงแรมให้หรี่เครื่องปรับอากาศที่ อยู่ด้านบนหลังคาของโรงแรม เนื่องจากมันส่งเสียงดังมากและทำให้เขาไม่สามารถนอนหลับได้ เอลตัน จอห์นเคยแต่งตัวอย่างหรูหราและมีวิกผมอันใหญ่มาก จนเขาไม่สามารถมางานในรถลีมูซีนส่วนตัวได้เอลตันจึงต้องนั่งรถบรรทุกคันใหญ่ ที่มีความสูงพอสำหรับทรงผมของเขา ครั้งหนึ่งก่อนให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ชื่อดัง เอลตันเรียกร้องให้มีการเตรียมของในห้องรอส่วนตัวของเขา โดยให้เด็กในกองถ่ายไปซื้อผ้าเช็ดมือสีดำที่ทำจากผ้าฝ้ายของอียิปต์ 14 ผืน และให้ซักครั้งหนึ่งก่อนจัดเตรียมให้เขาในห้อง ระหว่างช่วงพักผ่อนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าเอลตันจะมีบอดี้การ์ดมากพอที่จะคอยกันบรรดาแฟนเพลงให้อยู่ห่างจาก เขาแล้วก็ตาม แต่ก็มีแฟนเพลงคนหนึ่งเดินเข้ามาในระยะใกล้และตะโกน "สวัสดี" เขาได้ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เอลตันเลิกล้มแผนการพักผ่อนครั้งนั้นและกลับทันที

*** คะแนนความน่ากลัว = 85% ***
อันดับ 4.....เจนนิเฟอร์ โลเปซ [Jennifer Lopez] 



กับ ความสำเร็จทางด้านดนตรีและภาพยนตร์ (บางเรื่อง) เจนนิเฟอร์กลายเป็นดาวดวงเด่นที่ผู้คนต่างจับตามองตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่เธอจะทำตัวเป็นเหมือนเจ้าหญิงตลอดเวลา

ตำนานความน่ากลัว
กาแฟ ของเจ.โลจะต้องชงโดยให้ช้อนกาแฟหมุนทวนเข็มนาฬิกาเท่านั้น ไม่อย่างนั้นเธอจะไม่ดื่มมันเลย บรรดาพนักงานและคนที่ทำงานให้เธอทุก คนจะถูกห้ามไม่ให้จ้องมองเธอที่ตาโดยตรง (ยกเว้นช่างแต่งหน้าของเธอเท่านั้น) ก่อนหน้าที่เธอจะเช็คอินเข้าโรงแรมได้ เตียงที่เธอนอนจะต้องถูกเปลี่ยน นั่นรวมถึงฟูกและหมอน ส่วนผ้าปูเตียงก็ต้องเป็นผ้าฝ้ายอียิปต์ที่มีเส้นด้ายอย่างน้อย 250 เส้น เจ.โลเคยเรียกร้องการคุ้มกันมากกว่า บรรดาเชื้อพระวงศ์ที่มาร่วมในงาน เสียอีก ระหว่างการแข่งเบสบอลที่เธอไปร่วมเชียร์ เจ.โลได้ให้ทางสนามกันห้องน้ำหนึ่งห้องไว้สำหรับเธอใช้เท่านั้น และมันก็สร้างความไม่พอใจให้กับบรรดาผู้ชมคนอื่นเป็นจำนวนมาก

*** คะแนนความน่ากลัว = 91% ***
อันดับ 3.....มารายห์ แครี่ย์ [Mariah Carey] (ไม่สงสัย ว่าทำไมติด) 



เธอ เป็นนักร้องที่โด่งดังไปทั่วโลกและความดังนี้ไม่ได้มาจากพลังเสียงของเธอ เท่านั้นหรอกนะ เพราะสิทธิพิเศษที่เธอเรียกร้องนั้นก็ไม่เบาเลย

ตำนานความน่ากลัว
หนึ่ง ในผู้ช่วยของมารายห์จะมีหน้าที่เดียวเท่านั้น เขาจะต้องคอยยื่นผ้าขนหนูให้เธอทุกครั้งที่เธอต้องการ สิ่งที่มารายห์ต้องการให้เตรียมไว้ในห้องแต่งตัวระหว่างทัวร์ คอนเสิร์ต ได้แก่ แชมเปญยี่ห้อโปรด ชุดชงชาสำหรับ 8 ที่และเก้าอี้ผู้กำกับที่มีชื่อเธอ (ถึงแม้ว่าทั้งห้องจะเป็นของเธอก็ตาม)มารายห์เคยจ้างสไตลิสต์ส่วนตัวมาเพื่อ คอยจัดขาของเธอให้ดูสวยงามเมื่อต้องถ่ายรูป ระหว่างการเดินทางไปออกรายการโทรทัศน์ มารายห์เคยให้ รถลีมูซีนคันยาวของเธอจอดข้างทางด่วน ทำให้เกิดรถติดยาวเป็นกิโล เพียงเพราะเธอต้องการแต่งหน้าให้สวยก่อนถึงสถานีโทรทัศน์..แค่นั้น มารายห์เคยบอกยกเลิกการให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์อย่างกะทันหันเมื่อรู้ ว่า จะต้องมีการเดินลงบันได เพราะเธอว่า "เห็นแล้ว...ไม่สวย"

*** คะแนนความน่ากลัว = 94% ***
อันดับ 2.....ชารอน สโตน [Sharon Stone] 



ถึงแม้ว่าจะห่างหายจากจอเงินไปนาน แต่ดาราดังคนนี้ยังคงคิดว่าตัวเองเจ๋งที่สุดเสมอ มีพรมแดงที่ไหนย่อมต้องมีชารอนที่นั่นแน่นอน

ตำนานความน่ากลัว
หลัง จากที่ประสบความสำเร็จจากเรื่อง Basic Instinct ผู้สร้างวางแผนที่จะสร้างภาค 2 แต่เมื่อเห็นข้อเรียกร้องของชารอน (ที่มีความยาวห้าหน้า)โปรเจ็คท์นี้กลับต้องล่มไป เธอแค่ต้องการบอดี้การ์ดตลอด 24 ชั่วโมงระหว่างการถ่ายทำ ผู้ช่วยสองคน เซฟทำอาหารส่วนตัว คนเลี้ยงเด็กสามคนรถยนต์คาดิแลคเปิดประทุน ห้องพักระดับดีที่สุด การเดินทางชั้นหนึ่งและถ้าจะต้องบิน เธอจะต้องบินในเครื่องบินส่วนตัวเท่านั้น ส่วนเครื่องประดับที่เธอใส่ ในภาพยนตร์ เธอจะต้องได้สิทธิ์ครอบครองมันภายหลังด้วย ระหว่างการถ่ายทำเรื่อง Catwoman และชารอนต้องการเป็นคนสุดท้ายที่จะเดินบน พรมแดง (ตามธรรมเนียมฮอลลีวู้ดแล้ว ตำแหน่งนี้จะตกเป็นของนักแสดงนำของหนังเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ก็ฮัลลี่ เบอร์รี่นั่นล่ะ) หลังจากการโต้เถียงไม่นาน ฮัลลี่ เบอร์รี่ก็ยอมสละตำแหน่งเดินรั้งท้ายนี้ให้เธอไป คนสนิทเล่าว่า "ฮัลลี่ไม่อยากให้มันกลายเป็นเรื่อง ใหญ่โต เธอจึงเป็นฝ่ายยอม" เมื่อชารอนได้รับเชิญไปสัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ในอเมริกา เธอเปลี่ยนแปลงการจัดไฟและมุมกล้องบ่อยครั้งมาก จนทำให้การถ่ายทำล่าช้าไปถึง 2 ชั่วโมง

*** คะแนนความน่ากลัว = 97% ***
อันดับ 1.....มาดอนน่า [Madonna] 



ใคร บ้างล่ะที่จะไม่รู้จักเธอ หลังจากที่เธอร่วมเข้าลัทธิคับบาล่าห์แล้ว มาดอนน่าเคยให้สัมภาษณ์ว่า "เมื่อย้อนดูชีวิตของฉันแล้ว ฉันรู้สึกว่าได้ใช้ชีวิตอย่างเห็นแก่ตัวและคิดถึงแต่ตัวเองเท่านั้น" (ไม่ใช่เธอเท่านั้นหรอกที่คิดอย่างนี้)

ตำนานความน่ากลัว
ในปี 1989 โรงแรมโลเวลล์ ในกรุงนิวยอร์กได้ติดตั้งอุปกรณ์ออกกำลังกายใหม่หมดตามความต้องการของมาดอน น่า แต่นั้นก็เพราะเธอคือแขกสำคัญ (และต้องพักที่นั่นทั้งปีเท่านั้นเอง) เมื่อมาดอนน่าได้รับเชิญให้ออกรายการ Top of The Pops ในปี 2001 เธอเรียกร้องห้องแต่งตัวสามห้องจักรเย็บผ้า เครื่องปรับความชื้นและจักรยานออกกำลังกายของเธอ ระหว่างพักผ่อนอยู่ที่รีสอร์ทหรูในอิตาลี เธอต้องการให้ทางโรงแรมปิดไฟทุกดวงในสนาม เพื่อที่เธอจะได้เห็นดวงดาวได้อย่างชัดเจน มาดอนน่าเคยได้ร่วมแสดงละครเวทีในกรุงลอนดอน เธอให้โรงละครยกระดับเวทีให้สูงขึ้น
อีก 1 ฟุต เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชมสามารถวิ่งขึ้นมาหาเธออย่างชิดใกล้ได้ มาดอนน่าเชื่อในลัทธิคับบาล่าห์และจะต้องดื่มน้ำคับบาล่าห์ (ที่เชื่อว่าได้รับพรแล้ว) เท่านั้น ระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตทั่วโลก เธอจะสั่งน้ำจำนวน 25 ลังไปด้วยตามสถานที่ต่างๆ ที่เธอแสดง ระหว่างทัวร์คอนเสิร์ต มาดอนน่ายังต้องการให้มีการสร้างห้องสำหรับการนั่งสมาธิไว้ที่ด้านหลังเวที โดยห้องนี้จะต้องสร้างจากวัสดุที่กันเสียงได้เป็นอย่างดีด้วย

*** คะแนนความน่ากลัว = 100% ***
ที่มา สนุก.คอม

วิธีเขียน Mind Map ง่ายๆ ได้ฝึกทักษะสมองด้วย


Mind Map แปลงไอเดียเป็นแผนที่ความคิด

วิธีเขียน Mind Map ฝึกทั

เคยไหมเมื่อเราได้โจทย์ การบ้าน หรือโครงการขนาดใหญ่ที่ทำให้เราต้องคิดแล้วมักจะคิดกันไม่ออก ทุกอย่างลอยวนอยู่ในหัว ไม่นานนักก็หายราวกับฟองสบู่ สุดท้ายเราก็ไม่ได้อะไรออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน

จนกระทั่ง โทนี่ บูซาน นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ เป็นคนนำเอาความรู้เรื่องสมองมาปรับใช้กับการเรียนรู้ของตัวเอง โดยเริ่มพัฒนาการจากการจดบันทึกแบบเดิมๆ ที่จดบันทึกเป็นตัวอักษรในหน้ากระดาษ ซึ่งคล้ายกับรูปแบบตั้งชื่อโครงการวัตถุประสงค์ ที่มาที่ไปของโครงการนำเสนออย่างที่พวกเราเคยทำนั่นล่ะ แต่คราวนี้โทนี่เลือกที่จะเปลี่ยนมาเป็นบันทึกโดยเน้นไปที่การวาดด้วยรูปภาพและโยงด้วยลายเส้นแบบแผ่ออกจากศูนย์กลางราวกับกิ่งก้านของต้นไม้

กลายเป็นวิธีที่เขาทดลองนั้นสามารถนำไปใช้ได้กับทุกเรื่องของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน ครอบครัว เรื่องส่วนตัว หรือโครงการใหม่ๆ ที่เขากำลังจะทำ เรื่องที่เราเห็นว่ายากก็ดูง่ายขึ้นมาทันที ที่สำคัญจะช่วยให้เรามองเห็นภาพปัญหาโดยรวมและแก้ได้ถูกจุด หากคิดเรื่องโครงการต่างๆ ก็ช่วยให้เราเห็นภาพและลำดับการทำงานได้ดีขึ้น

ที่มากไปกว่านั้นก็คือ วิธีคิดแบบนี้ยังเป็นการฝึกทักษะสมองด้วยเพราะเป็นการทำงานร่วมกันของสมองทั้งสองซีก ทั้งด้านความรู้เหตุสู่ผล และด้านจินตนาการ

วิธีเขียน Mind Map ง่ายๆ วิธีเขียน Mind Map


วิธีเขียน Mind Map ฝึกทั

หากได้เห็นภาพประกอบ หลายคนคงถอยไป 3 ก้าวแล้วบอกว่า... “ฉันเขียน Mind Map เหมือนเขาไม่ได้แน่ๆ”

ซึ่งรูปที่เห็นเป็นของ พอล โฟร์แมน เจ้าของเว็บไซต์ไมนด์แม็ปอินสไปเรชั่น เป็นผู้วาด Mind Map ตัวอย่าง สำหรับคนที่กำลังศึกษาวิธีจัดระบบความคิดแบบ Mind Map

แต่ที่จริงแล้วการสร้าง Mind Map เป็นอะไรที่ง่ายกว่านั้น ขนาดโรงเรียนอนุบาลยังเริ่มมีการเรียนการสอน Mind Map ให้กับเด็ก แล้วผู้ใหญ่อย่างเราๆ ท่านๆ จะทำไม่ได้ก็ให้รู้ไป

ตามทฤษฎีการเขียน Mind Map ที่นักจิตวิทยาโทนี่ได้วางแนวทางเอาไว้คร่าวๆ นั้นออกแนวเรียบง่ายอย่างมาก เพียงแค่เรามีกระดาษและดินสอก็สามารถสร้าง Mind Map ของตัวเองได้แล้ว แต่ถ้าจะให้ดีก็ควรมีดินสอสีสักกล่องสำหรับระบายแต่งแต้มจินตนาการ จะช่วยฝึกสมองด้านจินตนาการและจำเรื่องราวต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้นด้วยสีสัน

โดยมีกฎเล็กๆ น้อยๆ...ดังนี้

วิธีเขียน Mind Map ฝึกทั 1. ให้หัวข้อที่ต้องการเขียนอยู่ตรงกลางเพื่อเป็นศูนย์กลางความคิดเชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ

วิธีเขียน Mind Map ฝึกทั2. จากนั้นใช้คีย์เวิร์ด หรือคำสั้นๆ ที่เข้าใจง่าย มีความยืดหยุ่นของแนวคิด อาจใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่เราเข้าใจแทนก็ได้ใส่ลงไปในนั้น

วิธีเขียน Mind Map ฝึกทั3. ลากเส้นโยงกับหัวข้อหลัก โดยใช้เส้นสีแทนเส้นทางกลุ่มความคิดย่อยในเรื่องต่างๆ เพื่อความสวยงามและจดจำได้ง่าย และจัดเป็น 1 กลุ่มความคิด

วิธีเขียน Mind Map ฝึกทั4. แตกแขนงความคิดออกไปเรื่อยๆ จนสุดทาง ด้วยการใส่คียเวิร์ดที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นลงไป

วิธีเขียน Mind Map ฝึกทั5. เมื่อเสร็จแล้วเราก็จะเห็นภาพความคิดของเราออกมาเป็นรูปธรรมใน 1 หน้ากระดาษ ซึ่งทำให้เรารู้ว่ามีความคิดไหนบ้างที่ซ้ำกัน สามารถตัดออกไปได้ หรือดัดแปลงไปไว้ตรงจุดอื่น

การเขียน Mind Map อาจทำได้ทั้งรูปแบบกระดาษและในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีข้อดีแตกต่างกันออกไป

หากวาดในกระดาษก็จะได้ฝึกการรวบยอดความคิดและถ่ายทอดออกมาเป็นผังความคิดเหมาะสำหรับปัญหาส่วนตัว เรื่องเรียน หรือโครงการเล็กๆ ที่ไม่ใหญ่มาก

ส่วนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะมีความยืดหยุ่นตัวในการจัดกลุ่มความคิดได้ง่าย ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยเหมาะสำหรับการวางแผนธุรกิจที่มีรายละเอียดความคิดจำนวนมาก

วิธีเขียน Mind Map ง่ายๆ Mind Map ดีอย่างไร

พรชัย จันทรศุภแสง บก.นิตยสารคอมพิวเตอร์ทูเดย์ เล่าถึงการใช้ Mind Map จากประสบการณ์ว่า Mind Map เป็นการสรุปรวบยอดความคิด จากสมัยก่อนที่มักเขียนเป็นข้อๆ มาเป็นการเขียนโยงภาพไปเรื่อยๆ

“สำหรับผมเองจะเลือกใช้วิธีการเขียนสัญลักษณ์ต่างๆ เข้ามาช่วย ส่วนตัวผมเริ่มใช้ Mind Map ไม่นาน 2 ปีหลังมานี่เอง ปกติแล้วเวลาที่เรารวบยอดความคิด ก็จะใช้วิธีเขียนโน้ตสั้นๆ สำหรับบรรยายตามงานที่ต่างๆ

จนกระทั่งหัวหน้าแนะนำทฤษฎีนี้ว่าช่วยทำให้ง่ายขึ้น เลยลองหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตดู แรกๆ ก็ติดๆ ขัดๆ อยู่บ้าง พอทำไปสักพักก็พบว่ามันง่ายขึ้น รวบยอดได้ง่ายขึ้น ทำให้เห็นอะไรที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างชัดเจน และเอามาใช้แก้ปัญหาทางธุรกิจได้อีกด้วย

อย่างล่าสุด ผมต้องปรับรูปแบบหนังสือใหม่ ก็มาโยงภาพในเรื่องต่างๆ จนเห็นว่าบางอย่างที่เราคิดฟุ้งๆ ไปมันไม่จำเป็น เป็นเรื่องเดียวกันซ้ำกัน ก็ตัดออกไปจากที่เรารู้สึกว่างานรอบตัวเยอะไปหมด ก็รู้สึกว่าเป็นกลุ่มเป็นก้อน และจัดการเรื่องต่างๆ ได้มากขึ้น”

พรชัย บอกว่า เทคนิคส่วนตัวคือ อย่าคิดเยอะ คิดอะไรก็เขียนออกมาสั้นๆ แต่ได้ใจความ

“ไม่อยากให้มองว่า Mind Map ต้องเป็นตัวหนังสือเยอะๆ บางทีอาจจะเป็นสัญลักษณ์ที่ตัวเราเห็นแล้วเข้าใจง่ายๆ ไม่ต้องยึดทฤษฎีตามเป๊ะๆ เพราะแต่ละคนก็มีกระบวนการคิดที่แตกต่างกัน แต่ Mind Map เหมาะสำหรับทุกคน

โดยเฉพาะเด็กๆ นอกจากการเล่นเกมแล้ว เราอาจฝึกให้เขาคิดโดยใช้วิธี Mind Map ก็ได้ จะได้เกิดประโยชน์ในอีกมุมนึงของการใช้เทคโนโลยี เพราะเด็กมักจะมีคำถามต่อมาว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร เขาชอบอะไร การใช้ Mind Map ก็สามารถทำให้เขาเห็นภาพได้ว่า ถ้าอยากเป็นนักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เขาต้องเรียนรู้อะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และเห็นภาพออกมาอย่างชัดเจนว่า เขาควรเลือกไปเส้นทางไหน”

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีวิธีคิดดีๆ เครื่องมือที่ดี แค่ถ้าเราคิดแล้วไม่ลงมือทำ ความคิดนั้นก็เปล่าประโยชน์ ใครที่เคยฝันอยากเป็นเจ้าของกิจการ อยากเรียนหนังสือเก่ง มีปัญหาที่แก้ไม่ตกอย่ามัวแต่นั่งคิด ให้คิดแล้วลงมือเขียน Mind Map โดยให้ความคิดของเราส่งผ่านออกมาอย่างเป็นรูปธรรมแล้วเราจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าเราควรไปทางไหน แล้วเราจะรู้ว่า Mind Map ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือช่วยคิด แต่ยังช่วยลิขิตเส้นทางชีวิตให้เราได้อีกด้วย

วิธีเขียน Mind Map ง่ายๆ ส่วนย่อยของ Mind Map
วิธีเขียน Mind Map ฝึกทั1.คีย์เวิร์ดคืออะไร คีย์เวิร์ดคือคำสั้นๆ ที่แทนความหมายของสิ่งที่เราคิด เช่น ผมต้องการเปิดร้านกล้วยตาก คีย์เวิร์ดของผมก็คือ กล้วย แดด

วิธีเขียน Mind Map ฝึกทั2.เว็บไซต์ www.mindmapinspiration.com เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมตัวอย่างการเขียน Mind Map อย่างสร้างสรรค์ แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่วาดรูปได้เก่ง บางครั้งแค่เราเขียนคีย์เวิร์ดสั้นๆ ก็เพียงพอแล้วกับการจัดระบบความคิด

วิธีเขียน Mind Map ฝึกทั3. หากสงสัยในเรื่องการคิดแบบ Mind Map ว่าทำไมสมองของเราจึงตอบสนองกับรูปแบบแผนที่ความคิดแบบนี้ ลองค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tonybuzan.com มีคำตอบอธิบายสั้นๆ เข้าใจง่าย หรือจะเลือกซื้อหนังสือของเจ้าของทฤษฎีนี้โดยตรงก็ยังได้

วิธีเขียน Mind Map ฝึกทั4.ลองเข้าร่วมกิจกรรมเรียนแกะแผนที่ความคิด Mind Map ไลฟ์แม็ป ที่ทีเคปาร์ค ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ในวันที่ 29-30 มิ.ย. ดูสิแล้วจะรู้ว่า Mind Map เป็นอะไรที่ง่ายมากๆ


โดย...โยธิน อยู่จงดี
ข้อมูล วิธีเขียน Mind Map จาก โพสต์ทูเดย์ 27 มิถุนายน 2556
photo credit : fauquiercountylibrarynews.blogspot.com

นักเรียนตุรกีวัย16 คิดค้นเปลี่ยนเปลือกกล้วยเป็นพลาสติก ! ชนะเลิศรางวัล Science in Action


นักเรียนตุรกีวัย16 ชนะเล

น.ส.เอลิฟ บิลกิน ( Elim Bilgin) นักเรียนชาวตุรกี วัย 16 ปี ในกรุงอิสตันบูล คว้ารางวัลชนะเลิศจากเวทีไซแอนซ์ อิน แอ็กชั่น ของสหรัฐฯ พร้อมเงินรางวัล 50,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 1.5 ล้านบาท ก่อนไปร่วมเทศกาลกูเกิล ไซแอนซ์ แฟร์ งานนักประดิษฐ์รุ่นเยาวชนที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐฯ ในเดือน ก.ย.นี้

เอลิฟ บิลกินใช้เวลา 2 ปี คิดค้นแปลงเปลือกกล้วยที่ไม่ใช้แล้วให้กลายเป็นพลาสติกชีวภาพ ซึ่งต่อไปอาจผลิตเป็นสายเคเบิลไฟฟ้าได้

ทั้งนี้ บิลกินเผยว่า ตนใช้หลักวิทยาศาสตร์สังเกตส่วนประกอบของแป้งและเส้นใยเซลลูโลสที่สามารถนำมาทำเป็นพลาสติกชีวภาพได้ และคิดว่าแนวคิดนี้จะช่วยแก้ปัญหามลภาวะที่เกิดจากของเสียในการผลิตพลาสติก

ไทยรัฐออนไลน์ 29 มิถุนายน 2556
photo credit : inhabitat.com, teethwhiteningresearch.org 

ภาษาอังกฤษ กับ อนาคตของไทยในอาเซียน


ภาษาอังกฤษ กับ อนาคตของไทยในอาเซียน



UploadImage

บันทึกอาเซียน | ASEAN DIARY : การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในภูมิภาค กับ อนาคตของไทยในอาเซียน [1]

กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English” | “ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” ความหมายที่เป็นที่เข้าใจในขั้นต้นก็เป็นเพียงเรื่องของทางราชการและภาคธุรกิจเอกชนเท่านั้น ซึ่งหากเป็นเพียงเท่านี้ก็เป็นเรื่องปรกติธรรมดาของการทำงานในโลกปัจจุบันอยู่แล้ว

แม้จะหมายความเพียงว่าเป็นการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกันในการทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ตลอดจนองค์กรและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทว่าความหมายของบทบัญญัติที่ให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของอาเซียนสำหรับการทำงานร่วมกันนั้นมีความหมายกว้างไกลไปถึงทุกส่วนของประชาคมอาเซียนด้วย

หมายความว่าประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น นอกเหนือจากภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำถิ่นของแต่ละชาติแต่ละชุมชนเอง เพราะไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นที่จะต้องไปมาหาสู่ร่วมประชุมปรึกษาหารือและสื่อสารกัน และไม่เฉพาะนักธุรกิจและคนทำมาค้าขายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการติดต่อธุรกิจระหว่างกัน

แต่ในเมื่อทุกคนที่อยู่ในอาเซียนล้วนแล้วแต่เป็นพลเมืองของอาเซียนด้วยกันทุกคน และทุกคนจะต้องไปมาหาสู่ เดินทางท่องเที่ยว ทำความรู้จักคุ้นเคยต่อกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญทุกคนจะต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อหางานทำและแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
   
ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน
   
ส่วนภาษาที่สามของชาวอาเซียนนั้นก็คือภาษาอื่นในอาเซียนภาษาหนึ่งภาษาใดหรือมากว่าหนึ่งภาษา เช่นภาษามาเลย์ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาจีน ภาษาลาว ภาษาขแมร์ ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาฟิลิปปิโน ภาษาฮินดี และ ภาษาทมิฬ นอกจากนั้นยังมีภาษาของประเทศนอกภูมิภาคอาเซียนที่เป็นประเทศคู่เจรจาสำคัญของอาเซียนอีกแปดประเทศคือ: จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย ซึ่งหมายความว่าจะต้องเรียนรู้ภาษาที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ คือ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษารัสเซีย และภาษาที่ใช้ในอินเดียอีกหลายภาษา (ฮินดี, อูรดู, ทมิฬ, เบงกาลี ฯลฯ)
   
ภาษาอังกฤษ: ในฐานะภาษาสำคัญของโลก ภาษาอังกฤษปัจจุบันคือภาษานานาชาติ เป็นภาษากลางของโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของมนุษยชาติ เป็นภาษาที่มนุษย์บนโลกใช้ติดต่อระหว่างกันเป็นหลัก ไม่ว่าแต่ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกันทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต

แต่เมื่ออาเซียนกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็น “working language” เราจึงต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ตามความหมายของถ้อยคำว่าเป็น “ภาษาทำงาน” ของทุกคนในอาเซียน ทุกคนที่ “ทำงานเกี่ยวกับอาเซียน”, “ทำงานในอาเซียน”, ทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน”, “มีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน”, “แสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน”, “มีเพื่อนในอาเซียน” และ “เดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน”
   
ทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้น ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี  ไปจนถึงเกษตรกรชาวไร่ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน ฯลฯ

คนทำงานเกี่ยวกับอาเซียน :

คนที่ทำงานโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องของอาเซียน หมายถึงตั้งแต่พนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ไปจนถึงคนทำงานในสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ทุกคนต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก

ข้าราชการไทยทุกกระทรวงทบวงกรม จะต้องมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ และใช้ได้ดีด้วย เพราะงานเกี่ยวกับอาเซียนนั้นเกี่ยวกับทุกกระทรวงทบวงกรม จากนี้ไปควรเป็นนโยบายของรัฐบาลในการบรรจุข้าราชการทุกระดับทุกหน่วยงานโดยคำนึงถึงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ ไม่ว่าตำแหน่งราชการนั้นๆจะเกี่ยวข้องกับงานอาเซียนโดยตรงหรือไม่ก็ตาม เพราะถึงอย่างไรงานทุกระดับในหน่วยราชการจะต้องเกี่ยวข้องกับอาเซียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งสิ้น รัฐบาลควรมี นโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้าในช่วงเวลาก่อนถึงปี 2558/2015 อันเป็นปีบรรลุเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียน ว่าจะปรับขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของข้าราชทุกคนทุกระดับแล้วปรับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนข้าราชการที่พัฒนาขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้แล้วให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ให้ได้เงินเดือนสูงพอหรือสูงเหนือเงินเดือนปรกติในระบบราชการปัจจุบัน สูงจนเป็นที่ดึงดูดคนที่มีขีดความสามารถสูงหันมาสนใจรับราชการโดยไม่ลังเลว่าจะไปทำงานภาคเอกชนดีกว่าหรือไม่ สูงจนมาตรฐานการตอบแทนภาครัฐเทียบเท่าหรือดีกว่าภาคเอกชน

นโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้าของระบบราชการก็คือพัฒนาบุคคลากรที่พัฒนาได้แล้วปรับเงินเดือนส่วนที่พัฒนาได้มาตรฐาน ที่เหลือก็ค่อยๆพัฒนาและปรับผลตอบแทนต่อไปในระยะยาว ข้าราชการที่ไม่ปรับตัวก็ให้อยู่อย่างปรกติธรรมดาเหมือนเดิมแบบชีวิตไม่เปลี่ยนแปลงต่อไป เนื่องจากการเรียนภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ได้เสมอเหมือนกันทุกคน ทุกวัย ทุกวัฒนธรรม ไม่เกี่ยวกับภูมิปัญญาพิเศษใดๆ ใครๆก็เรียนภาษาใหม่ได้ ใครๆก็เรียนภาษาอังกฤษได้- ถ้าอยากจะเรียน -ไม่มีข้ออ้างว่ายากจน เรียนไม่ไหว หรืออายุมากแล้ว “ลิ้นแข็ง” เรียนไม่ได้แล้ว ภาษาเป็นทักษะ เรียนรู้ได้ด้วยการฝึกฝน ใช้มากๆ ใช้บ่อยๆ เท่านั้นเอง ถ้าขยันเรียนก็ใช้ภาษาอังกฤษได้ในเวลาไม่นาน วิธีสร้างแรงจูงใจโดยการปรับขึ้นเงินเดือนเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการจึงเป็นแรงจูงใจอย่างมีเหตุผลดีในการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของข้าราชไทยยุคประชาคมอาเซียน

นโยบายระยะยาว ก็ควรเป็นการให้ขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐานกลางของระบบราชการโดยปรับเงินเดือนและผลตอบแทนอื่นๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ หากทำเช่นว่านี้ได้ก็เป็นเหตุผลที่ชอบธรรมในการปรับฐานเงินเดือนและผลตอบแทนให้ข้าราชการทุกคน

พนักงานประจำสำนักเลขาธิการอาเซียน สำหรับคนที่ต้องการจะไปทำงานเกี่ยวกับอาเซียนโดยตรงในสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา หรือสำนักงานสาขาในประเทศอื่นที่จะมีในอนาคต ตลอดจนผู้ที่จะไปทำงานให้กับรัฐบาลประเทศสมาชิกอื่นของอาเซียน กล่าวโดยตรงก็คือคนที่จะไปรับราชการในประเทศอาเซียนอื่น ซึ่งในอนาคตจะเป็นเรื่องจริงที่เป็นไปได้ เพราะแต่ละรัฐสมาชิกจะมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ผู้รู้เกี่ยวกับอาเซียนและรัฐสมาชิกอื่นในระบบการทำงานของราชการ (หรือรัฐการ) ของตน ประเทศในอาเซียนจะมีความต้องการว่าจ้างคนไทยที่มีความรู้ความสามารถเรื่องไทยและเรื่องอาเซียนให้เข้ารับราชการในประเทศของตน ชาวไทยที่แสวงหาโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิตก็ต้องเตรียมพร้อมเรื่องภาษาอังกฤษก่อนเรื่องอื่นใด ในยุคอาณานิคม แม้ไทยจะมิได้เป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่รัฐบาลสยามก็จ้างชาวอังกฤษมาเป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนแรก และจ้างชาวดัทช์มารับราชการในกรมชลประทาน และ จ้างชาวอังกฤษมาเป็นครูในพระราชวังและในระบบการศึกษาพื้นฐาน ในปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศของไทยและของชาติสมาชิกอาเซียนอื่นก็ล้วนแล้วแต่มีกรมกิจการอาเซียนด้่วยกันทั้งนั้น และย่อมเป็นไปได้ที่แต่ละหน่วยงานจะมีความจำเป็นต้องจ้างชาวไทยเข้าสู่ระบบราชการของแต่ละประเทศด้วย ในทางกลับกันระบบราชการไทยก็จะมีความจำเป็นที่ต้องจ้างชาวลาว เขมร พม่า เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และ ฟิลิปปินส์ มาทำงานในกระทรวงต่างๆของไทย ทำนองเดียวกันกับที่สถาบันการศึกษาต่างๆจ้างครูชาวต่างชาติ

ถึงเวลาแล้วที่ชาวไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน ณ วันนี้เป็นต้นไป

(ภาษาอังกฤษ สำหรับ : คนทำงานในอาเซียน คนทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน คนมีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน คนแสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน คนมีเพื่อนในอาเซียน คนเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน)
สมเกียรติ อ่อนวิมล



ขอบคุณสำหรับข้อมูลและข่าวดีๆที่ร่วมสร้างสรรค์การศึกษาไทย
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์

ภาพประกอบจาก nytimes.com



 ความรู้รอบตัว เรื่องราวต้องรู้ เรื่องราวน่ารู้ ต้องที่ KNOWLEDGE เรื่องที่คุณต้องรู้

วิธีการทางวิทยาศาสตร์มีหลายรูปแบบ


ในการดำเนินการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เราจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
วิธีการทางวิทยาศาสตร์มีหลายรูปแบบ
          การพิสูจน์หรือหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างสาขากัน  สามารถใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

ที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างเช่น วิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี  ฟิสิกส์) มักจะใช้วิธีการทดลอง  แล้วจึงเก็บข้อ
มูลเป็นตัวเลข จากนั้นจึงนำมาประมวลเป็นข้อสรุป  ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น
มานุษวิทยา ที่ทำการศึกษาโดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต หรือสัมภาษณ์
          กรณี วิทยาศาสตร์กายภาพ ข้อมูลจากการทดลองซึ่งเป็นตัวเลขถูกนำมาประมวลสร้างเป็น 
ตาราง หรือกราฟ หรือสมการ ซึ่งสามารถใช้ในการทำนายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ส่วนวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ใช้วิธีบันทึกข้อมูลจากการสัมภาษณ์ หรือการสังเกต แล้วนำมาประมวลสรุปผลในรูปของการพรรณนา หรือการอนุมาณ
          ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จะต้องคำนึงว่าเขากำลังทำการศึกษาวิทยาศาสตร์ในเรื่องใดด้วยวิธีที่ถูก

ต้องหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่สามารถเข้าถึงความจริงได้ตามวัตถุประสงค์
ปัจจัยในการดำเนินงานทดลองทางวิทยาศาสตร์การตั้งคำถาม          เริ่มต้นด้วยการที่คุณสังเกตสรรพสิ่ง แล้วเกิดสงสัย  จึงตั้งคำถามขึ้น แล้วดำเนินการหาคำตอบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ข้อสงสัยหรือปัญหาที่คุณตั้งขึ้น จะต้องสามารถหาคำตอบ หรือพิสูจน์ได้จากการทำการทดลอง ซึ่งบางคำถามก็ทำการทดลองเพื่อหาคำตอบง่าย ส่วนบางคำถามก็หาคำตอบโดยทำการทดลองได้ยากแตกต่างกันไป          ยกตัวอย่างเช่น คำถาม "เกลือหรือน้ำตาลละลายน้ำได้ดีกว่ากัน?" เป็นคำถามที่สามารถหาคำตอบได้จากการทดลองโดยง่าย แต่ถ้าเป็นคำถาม "ไก่เกิดก่อนไข่ หรือไข่เกิดก่อนไก่ ?" หรือคำถาม "ชนชาติ A หรือชนชาติ B กินเก่งกว่ากัน?" จะเห็นได้ว่าคำถามประเภทนี้เป็นคำถามที่หาคำตอบจากการทดลองได้ยาก เพราะคำถามมีลักษณะกว้าง และจัดสถานะการณ์ หรือกำหนดตัวแปรการทดลองทำได้ยาก          คำถามที่มีความกว้าง และความแคบไม่เท่ากันทำให้การออกแบบการทดลองที่จะหาคำตอบมีลักษณะแตกต่างกันไปด้วย  ตัวอย่าง เช่น ใช้คำถามว่า "ต้นฟ้าทะลายโจรมีประโยชน์อะไรบ้าง?" จัดเป็นคำถามแบบกว้าง คำตอบที่ได้ก็จะเป็นแบบกว้างด้วย (นั่นคือสามารถตอบได้หลายอย่าง)          แต่ถ้าเป็นคำถามว่า "ต้นฟ้าทะลายโจร เป็นพืชตระกูลอะไร?"   "ใช้รักษาโรคอะไร?"  "มีประสิทธิภาพการรักษาขนาดไหน?" เหล่านี้เป็นคำถามแบบแคบ          มีข้อสังเกตว่าคำถามแบบกว้างมักจะหาคำตอบจากการสอบถามผู้รู้หรือค้นหาเอกสารแล้วนำมาประมวลเป็นคำตอบ และเป็นคำถามต้นๆในกรณีที่ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้น ขณะที่คำถามที่แคบเป็นการหาคำตอบที่เฉพาะขึ้น และมักจะหาคำตอบได้จากการทดลอง          นอกจากนี้จะเห็นว่าคำถามที่แคบลงก็มีทิศทางว่าใกล้ถึงจุดประสงค์ซึ่งอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง          ความสงสัยที่นักวิทยาศาสตร์ได้นำมาตั้งคำถามขึ้น นักวิทยาศาสตร์จะสมมุติคำตอบขึ้นมาก่อนโดยอาศัยหลักวิชาการ และข้อมูลที่มีอยู่  คำตอบที่สมมุติขึ้นไว้ก่อนนี้ เราเรียกว่า "สมมุติฐาน" การตั้งสมมุติฐานขึ้นก่อนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์  ยกตัวอย่าง เช่น เราสงสัยว่า นาย ก เป็นคนดีหรือไม่ เราอาจจะตั้งสมมุติฐานขึ้นว่านาย ก เป็นคนดี จากนั้นจึงออกแบบการทดลองขึ้นเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานว่านาย ก เป็นคนดี  โดยการทดลองจะเป็นไปตามแนวทางที่ว่าถ้านาย ก เป็นคนดีแล้ว เราทำการ……..(เหตุหรือ input) กับนาย ก แล้ว นาย ก จะสนองตอบโดย……..(ผลหรือ output)          ซึ่งจะเห็นว่าการตั้งสมมุติฐานไว้ก่อนแล้วจึงออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน เป็นการสะดวกในแง่ที่ได้กำหนดกรอบในการหาคำตอบตามวิธีวิทยาศาสตร์ที่สามารถกระทำได้
ความสัมพันธ์กันของ เหตุ และ ผล          วิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นการหาความจริงของธรรมชาติโดยยึดหลักว่า คำตอบหรือความจริงใดๆทางวิทยาศาสตร์ประกอบขึ้นด้วยคู่ของ เหตุ และ ผล ซึ่งสัมพันธ์กัน ดังนั้นถ้าเหตุและผลคู่ใดมความสัมพันธ์กัน แสดงว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง เราสามารถพิสูจน์ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของเหตุและผลโดยการทดลอง และเฝ้าสังเกตระบบที่ศึกษาซ้ำหลายๆครั้ง
ประโยชน์จากการทราบคำตอบหรือความจริง          ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เราจะพยายามหาความสัมพันธ์ของ เหตุ และ ผล ของความจริงหนึ่งๆให้พบ โดยการใส่ตัวแปรต้น (เหตุ) เข้าไปในระบบ แล้วบันทึกตัวแปรตาม (ผล) ที่ออกมาจากระบบ ตัวแปรทั้งสองถ้ามีความสัมพันธ์กันก็หมายถึงตัวแปรทั้งสองเป็น เหตุ และผล คู่ที่สัมพันธ์กันในความจริงทางธรรมชาติหนึ่งๆ          การที่เราค้นพบความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุและผล หรือ ความจริงนั้น ทำให้เราสามารถนำไปทำนายหรือควบคุมสิ่งต่างๆให้เป็นประโยชน์ไปตามที่เราต้องการได้ ยกตัวอย่าง เช่น จากการที่เราพบความจริงของน้ำที่ว่าถ้าเราเพิ่มอุณหภูมิถึง 100 องศาเซลเซียส น้ำจะเดือด และเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ ซึ่งจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เราสามารถนำความจริงอันนี้ไปสร้างเป็นเครื่องจักรไอน้ำ          นักวิทยาศาสตร์อาจจะมีแรงจูงใจให้ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์จากความอยากรู้อยากเห็นส่วนตนอยู่ส่วนหนึ่ง แต่แรงจูงใจจะเพิ่มขึ้นถ้าเขาเห็นประโยชน์ของงานที่ทำว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริงอย่างไรบ้าง
ค่าผิดพลาดจากการทดลอง          กรณีที่ค่าที่วัดได้มีปัญหาโดยอาจจะมีค่ามากหรือน้อยกว่าที่คิดไว้ หรือการวัดค่าซ้ำในระบบที่เหมือนกันให้ค่าที่แตกต่างกัน แสดงว่ามีต่าผิดพลาด (error) เกิดขึ้นแล้ว          การแก้ไขในเบื้องต้นให้ตรวจสอบวิธีการวัด หรือเครื่องมือวัดว่ามีอะไรผิดปกติหรือน่าสงสัยหรือไม่ เช่น อ่านสเกลผิด  สารเคมีเสื่อม  เครื่องมือเก่าหรือชำรุด          ถ้าหากไม่มีอะไรผิดปกติเกี่ยวกับวิธีการหรืออุปกรณ์วัด ก็ให้หาสาเหตุของค่าผิดพลาดต่อไปโดยให้กำหนดค่าผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็น 2 ลักษณะคือ  ค่าผิดพลาดแบบสุ่ม (random error) และ ค่าผิดพลาดจากระบบ (systematic error)           ค่าผิดพลาดแบบสุ่มเป็นค่าผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อย สามารถพบได้เป็นปกติ หรือเป็นธรรมชาติของตัวอย่างนั้นๆ ค่าผิดพลาดแบบสุ่มจะทำให้ค่าที่วัดตัวอย่างเดิมแต่ละคราวมีค่าแตกต่างกัน  ค่าแตกต่างจะเป็นไปได้ทั้งค่าบวกและค่าลบ แต่จะเป็นไปแบบสุ่ม  เราสามารถใช้สถิติมาลดค่าผิดพลาดนี้ โดยทำการทดลองซ้ำหลายครั้ง แล้วคิดผลลัพธ์ค่าที่ได้เป็นค่าเฉลี่ย  ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ในการวัดแต่ละครั้งให้ค่าแกว่งหรือแตกต่างกันมาก ค่าผิดพลาดแบบสุ่มก็ยิ่งมีค่ามาก การแก้ไขทำได้โดยเพิ่มการทดลองหลายหนแล้วนำมาคิดค่าเฉลี่ย จึงจะได้ค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงค่าจริง          ส่วนค่าผิดพลาดจากระบบเป็นค่าผิดพลาดที่มีโอกาสการเกิดน้อยกว่าค่าผิดพลาดแบบสุ่ม อีกทั้งโอกาสที่จะตรวจพบก็ยากกว่าทั้งนี้เพราะความคงเส้นคงวา หรือการวัดซ้ำของผลที่ได้มีค่าใกล้เคียงกัน แต่ค่าที่อ่านได้เป็นค่าที่ผิดพลาดจากค่าจริงโดยอาจจะมีทิศทางเป็นบวกหรือเป็นลบอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่าง เช่น ไม้บรรทัดที่มีปลายขาดหายไป 1 นิ้ว ทำให้ค่าเริ่มต้นที่ 2 นิ้ว ทำให้ผลที่อ่านได้มีค่ามากกว่าค่าจริง 1 นิ้วตลอดเวลา (ค่าผิดพลาดทิศทางเป็นบวก)          วิธีการแก้ไข นักวิทยาศาสตร์มักจะทำการทดลองโดยใช้การวัดมากกว่า 1 วิธี ซึ่งถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด การวัดทั้งสองวิธีก็จะอ่านค่าได้เท่ากัน          การหาสาเหตุที่ทำให้เกิดค่าผิดพลาดบางครั้งต้องขอให้บุคคลอื่นทำการทดลองเดียวกันเปรียบเทียบกับที่คุณทำ หรือขอความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์ให้มาช่วยตรวจสอบการทดลองในขั้นต่างๆ เพราะบางครั้งเราก็ต้องการแง่คิดหรือมุมมองที่แตกต่างกันจากผู้อื่นในการช่วยให้มองเห็นปัญหาที่เรามองไม่เห็น
ทำอย่างไรถ้าโครงงานวิทยาศาสตร์ไม่เป็นไปตามที่หวัง          ไม่ว่าผลการทดลองจะออกมาเป็นอย่างไรคุณก็ได้เรียนรู้บางสิ่งจากการทดลองแล้ว แม้ว่าการทดลองของคุณจะไม่ได้ตอบคำถาม หรือไม่ได้ให้ผลอย่างที่หวังไว้ แต่มันก็ทำให้เกิดไอเดียที่จะใช้ในการออกแบบการทดลองอื่นต่อไป การเรียนรู้จากการทดลองหนึ่งๆ ถือว่าเป็นบทเรียนที่มากพอสมควร และถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการก้าวต่อไปที่จะหาคำตอบ นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาปัญหาที่ซับซ้อนอาจใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อหาคำตอบ แม้กระนั้นเขาก็อาจจะยังไม่พบคำตอบ แต่ผลการทดลองของเขามีคุณค่า ซึ่งในที่สุดอาจจะมีใครสักคนจะนำผลนั้นไปใช้ในการทดลองของเขา และพบคำตอบ ซึ่งใครคนนั้นอาจจะเป็นคุณก็ได้

                        ขั้นตอนของโครงงานวิทยาศาสตร์

          โดยทั่วไปแล้วการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จะประกอบด้วยขั้นตอนใหญ่ๆ 4 ขั้นคือ  การเฝ้าสังเกต    ตั้งสมมุติฐาน    ควบคุมการทดลอง  และสรุปผล แต่ที่จริงแล้วการดำเนินการทดลองจะประกอบด้วยขั้นตอนมากกว่านั้น ดังที่จะแสดงต่อไปนี้
1. เฝ้าสังเกต          คุณสังเกตเห็นบางสิ่งที่น่าสนใจ และสงสัยว่าทำไมสิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น คุณอยากจะทราบสาเหตุ  คุณอยากรู้ว่าของบางสิ่งทำงานอย่างไร และทำไมจึงทำงานได้ คุณได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณสังเกต และต้องการที่จะตรวจสอบ ขั้นตอนแรกคุณจึงต้องสังเกตและเขียนบันทึกสิ่งที่คุณสังเกตเห็นให้ชัดเจน
2. รวบรวมข้อมูล          ทำการค้นคว้าหาข้อมูลในสิ่งที่คุณต้องการตรวจสอบโดยการ อ่านหนังสือ  อ่านวารสาร หรือสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น  สุดท้ายอย่าลืมบันทึกแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย
3. ตั้งชื่อเรื่อง           การตั้งชื่อเรื่อง ควรจะต้องสั้น และ บอกสาระสำคัญที่คุณกำลังตรวจสอบ
4. วัตถุประสงค์          คุณต้องการตรวจสอบอะไร  โดยวิธีการอย่างไร และผลที่ได้นำไปใช้ทำอะไรหรือไม่ คุณจะต้องเขียนแสดงสิ่งเหล่านี้ออกมา โดยใช้ข้อมูลจากการสังเกต และการหาข้อมูลเบื้องต้นของคุณ
5. เลือกตัวแปร          จากข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมไว้เกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการตรวจสอบ พิจารณาเลือกว่าตัวแปรอะไรที่มีผลต่อระบบ ก่อนที่จะตั้งสมมุติฐานต่อไป
6. ตั้งสมมุติฐาน          เมื่อคุณศึกษาตัวแปรที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับระบบ แล้ว จงคิดถึงการทดลองที่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรครั้งละหนึ่งตัวแปร (กรณีที่มีตัวแปรมากกว่าหนึ่งตัวแปร) ทั้งนี้เพราะถ้าคุณทดลองโดยเปลี่ยนค่าตัวแปรไปทีละมากกว่าหนึ่งตัวแปร คุณก็จะไม่สามารถทราบได้ว่าตัวแปรใดเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดผลต่อระบบ บางครั้งตัวแปร 2 ตัวในระบบเดียวกันจะมีผลร่วมกัน ดังนั้นคุณจะต้องพยายามเลือกใช้ตัวแปรที่ไม่มีผลร่วมกับตัวแปรอื่น            ถึงจุดนี้ คุณก็พร้อมแล้วที่จะเปลี่ยนคำถามเป็นสมมุติฐาน ซึ่งสมมุติฐานก็คือคำถาม (หรือคำตอบที่สมมุติขึ้น) ที่สามารถทดสอบได้ด้วยการทำการทดลอง          ในโครงงานวิทยาศาสตร์หนึ่ง คุณอาจจะตั้งคำถามได้หลายคำถาม ในแต่ละคำถาม หรือข้อสงสัยก็จะมี 1 สมมุติฐาน ดังนั้นคุณสามารถทำเป็นรายการของสมมุติฐาน แต่ละสมมุติฐาน คุณสามารถออกแบบการทดลองเพื่อการพิสูจน์โดยเลือกตัวแปรในการทำการทดลองที่เหมาะสม
7. ออกแบบการทดลอง                     ทำรายการสิ่งที่ต้องทำทีละขั้นเพื่อหาคำตอบแก่คำถามที่คุณตั้งไว้  รายการนี้คือกรรมวิธีทดลองนั่นเอง สำหรับการทดลองที่มีคำตอบที่เชื่อถือได้ จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ตัวควบคุม (control) ซึ่งตัวควบคุมนี้ก็คือการทดลองที่ทำไปโดยไม่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรที่ใช้ในการทดลอง ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้เกิดเป็นตัวเปรียบเทียบหรืออ้างอิงให้เห็นความแตกต่างระหว่างการทดลองที่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรและไม่มีการเปลี่ยนตัวแปร ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปได้ว่าระบบมีผลลัพธ์แปรตามตัวแปรการทดลองหรือไม่          ยกตัวอย่าง เช่น ในการปรุงอาหารสูตร ก  เรามีสมมุติฐานว่า ถ้าใส่ผงชูรสลงไปจะทำให้อร่อยขึ้น เมื่อทำการทดลองเราจะต้องมีการเปลี่ยนค่าตัวแปร คือใส่ผงชูรสลงไปในสูตรอาหารที่ความเข้มข้นต่างๆ และการทดลองที่เป็นตัวควบคุมคือไม่ใส่ผงชูรสลงในสูตรอาหารนั้นเลย  จากนั้นจึงนำสูตรอาหารที่เตรียมขึ้นมาวัดค่าความอร่อยเปรียบเทียบกัน          นอกจากนี้การทำการทดลองจะต้องมีการทำซ้ำเพื่อยืนยันการได้ค่าเดิม (reproducible) ซึ่งการทำซ้ำนี้จะช่วยลดค่าความผิดพลาดที่เกิดจากการทดลองด้วย          สรุปแล้วการออกแบบการทดลองให้คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ตามลำดับ- ตัวแปรมีหลายตัวแปร แต่ตัวแปรที่คุณเลืออกมาใช้จะต้องช่วยคุณตอบปํญหาที่ตั้งไว้- เปลี่ยนค่าตัวแปรเพียงตัวเดียวในการทดลอองแต่ละครั้ง- ในกรรมวิธีที่คุณเขียนขึ้นจะต้องบอกถึงววิธีการเปลี่ยนค่าตัวแปรนี้ว่าคุณทำอย่างไร- ในกรรมวิธียังต้องบอกวิธีการวัดปริมาณขอองผลลัพธ์ที่เปลี่ยนไปว่าคุณวัดอย่างไร- ในการทดลองจะต้องมีตัวควบคุม เพื่อเป็นตตัวเปรียบเทียบ ทำให้คุณทราบว่าตัวแปรทดลองของ  คุณมีผลต่อระบบจริงหรือไม่
8. จัดหาวัสดุ และอุปกรณ์          ทำบัญชีรายชื่อของสิ่งที่คุณต้องการใช้ในการทดลอง แล้วทำการจัดหามา หลายสิ่งอาจจะมีอยู่แล้วในสถานการศึกษาของคุณเอง วัสดุหรือสารเคมีถ้าเป็นเกรดที่ใช้ในอุตสาหกรรม จะมีราคาถูกกว่าเกรดที่บริสุทธิ์สูงที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเคมีอยู่ค่อนข้างมาก ฉะนั้นขอให้พิจารณาประกอบกันไปด้วย ส่วนสารเคมีที่มีความบริสุทธิ์สูง และราคาแพงหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายสารเคมี และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ สารเคมีที่ความบริสุทธิ์ปานกลาง (มักจะมีจุดประสงค์ใช้ในการศึกษาระดับโรงเรียน) หาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์การศึกษาขนาดใหญ่ เช่น ร้านศึกษาภัณฑ์  สารเคมีเกรดอุตสาหกรรมอาจจะติดต่อขอตัวอย่างสารได้ฟรีจากตัวแทนจำหน่ายบางร้าน (เป็นการส่งเสริมการขาย) ซึ่งบรรดาตัวแทนจำหน่ายต่างๆนี้คุณสามารถเสาะหาติดต่อได้จากสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง
9. ทำการทดลอง และบันทึกข้อมูล          บ่อยครั้งที่การทดลองจะทำเป็นชุดการทดลอง  ใน 1 ชุดการทดลองประกอบด้วยการทดลองย่อยๆที่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรให้แปรผันไม่เท่ากันในแต่ละการทดลองย่อย ตัวอย่างเช่นคุณศึกษาผลของเกลือแกงในการเปลี่ยนแปลงจุดเดือดของสารละลาย  ในการทดลองนี้คุณอาจจะแบ่งเป็นการทดลองย่อย 5 การทดลอง โดยแต่ละการทดลองประกอบด้วยสารละลายซึ่งเตรียมขึ้นโดยเติมเกลือที่เข้มข้นไม่เท่ากัน เช่น 1%     2%    3%   4% และ 5% ตามลำดับ  จากนั้นคุณจึงวัดจุดเดือดของสารละลายทั้ง 5           การบันทึกข้อมูลควรจะทำเป็นตาราง สิ่งที่คุณบันทึกในขั้นนี้ถือเป็นข้อมูลดิบ ซึ่งมักจะได้แก่ค่าต่อไปนี้  ปริมาณสารเคมีที่ใช้   ระยะเวลาที่ใช้    ค่าที่วัดได้   ข้อมูลดิบเหล่านี้จะต้องผ่านการคำนวณ หรือประมวลผลเสียก่อนจึงจะสรุปเป็นผลการทดลองได้
10. บันทึกข้อสังเกต          ระหว่างทำการทดลองให้สังเกต และบันทึกเป็นข้อสังเกตไว้ เช่น ปัญหาที่พบ  สิ่งที่น่าสนใจ   ทุกอย่างที่คุณทำ  และทุกอย่างที่เกิดขึ้น  ข้อสังเกตเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากเมื่อคุณเขียนบทสรุป หรือเมื่อต้องการวิเคราะห์หาข้อผิดพลาดจากการทดลอง   
11. คำนวณ          นำข้อมูลดิบมาคำนวณได้เป็นตัวเลขที่คุณพร้อมจะนำไปเขียนบทสรุป ยกตัวอย่าง เช่น คุณชั่งภาชนะ แล้วบันทึกในช่องข้อมูลดิบคือ "น้ำหนักภาชนะ" จากนั้นคุณเติมดินลงไปจำนวนหนึ่ง แล้วนำภาชนะไปชั่งน้ำหนักอีกครั้งแล้วบันทึกในช่องข้อมูลดิบช่อง "น้ำหนักภาชนะ + ดิน" ในภาคการคำนวณ คุณต้องคำนวณหาว่าใช้ดินไปเป็นจำนวนเท่าไรในการทดลองแต่ละครั้งโดยการคำนวณดังนี้
                        (น้ำหนักภาชนะ + ดิน)  -  (น้ำหนักภาชนะ)   =  น้ำหนักของดินที่ใช้
          ผลของการคำนวณที่ได้ให้นำไปบันทึกในช่องผลลัพธ์ของตารางในช่อง "น้ำหนักของดินที่ใช้"
12. รวบรวมผลลัพธ์          นำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมาแสดงในรูปของตัวเลขในตาราง  หรือกราฟ หรืออาจจะอยู่ในรูปคำบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลอง
13. เขียนบทสรุป          ผลลัพธ์และการคำนวณที่ได้จากการทดลองทำให้คุณสามารถเห็นแนวโน้มของตัวแปรต่างๆที่ทำให้เกิดผลต่างๆในการทดลอง ด้วยแนวโน้มนี้ คุณสามารถเขียนสรุปเกี่ยวกับระบบที่ศึกษา ซึ่งข้อสรุปนี้ทำให้เราสามารถพิสูจน์สมมุติฐานว่าถูกต้องหรือไม่          นอกจากนี้ในบทสรุปยังมักจะมีสิ่งต่อไปนี้- ถ้าสมมุติฐานของคุณไม่ถูกต้อง คำตอบที่แแท้ควรจะเป็นอะไร- ประมวลความยากหรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่่างทำการทดลอง เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขใน  การทำการทดลองคราวหน้า- คุณต้องการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีทดลอง และะทำการทดลองนี้ซ้ำอีกหรือไม่- อะไรที่คุณคิดว่าจะทดลองแตกต่างออกไปในกการทดลองคราวหน้า- บันทึกรายการสิ่งที่คุณได้เรียนรู้- พยายามตอบคำถามที่เกิดขึ้นใหม่จากการทดลลอง เพื่อตั้งสมมุติฐานที่สามารถทำการทดสอบได้อีก  ในคราวต่อไป

 ตัวอย่างการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ (ระดับประถมปีที่ 4) :   ผลของเกลือที่มีต่อจุดเดือดของน้ำ

เฝ้าสังเกต          ตำราทำอาหารบอกว่าให้เติมเกลือลงน้ำก่อนน้ำจะเดือด
ชื่อเรื่อง          ผลของเกลือที่มีต่อจุดเดือดของน้ำ
วัตถุประสงค์ของโครงงาน          เพื่อศึกษาว่าเกลือแกงธรรมดามีผลต่อจุดเดือดของน้ำอย่างไร
สมมุติฐาน          การเติมเกลือแกงลงไปในน้ำที่กำลังต้มอยู่ทำให้อุณหภูมิจุดเดือดของน้ำสูงขึ้น
วัสดุ และอุปกรณ์- เกลือแกง- น้ำกลั่น- ถ้วยตวงหน่วยเป็นไปนต์- หม้อต้มขนาดบรรจุ 2 ควอท- ช้อนชา และ ช้อนโต๊ะ- เทอร์โมมิเตอร์- ช้อนคนสาร
วิธีการทดลอง1. ต้มน้ำ 1 ควอทบนเตา2. เมื่อน้ำเดือด  วัดอุณหภูมิที่สูงสุด  ค่าที่วัดนี้ถือเป็นค่าควบคุม เพื่อเปรียบเทียบกับ3. ตวงเกลือแกงจำนวน 1 ช้อนโต๊ะปาดเรียบ4. ใส่ลงไปในน้ำที่เดือด แล้วคน5. วัดอุณหภูมิของน้ำเดือดที่มีเกลืออยู่ โดยบันทึกอุณหภูมิสูงสุดไว้6. ทำการทดลองซ้ำโดยเติมเกลือเพิ่มอีก 1 ช้อนโต๊ะปาดเรียบ
ข้อมูล              ทำการทดลองเมื่อ   25/2/95
      จำนวนน้ำเดือด                                                   2  ถ้วย      อุณหภูมิน้ำเดือด (ควบคุม)                                     212.9 F      จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 1          1 ช้อนโต๊ะ      อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเติมเกลือแกง # 1                    215.6 F      จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 2          1 ช้อนโต๊ะ       อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเพิ่มเกลือแกง # 2                   218.3  F
บันทึกข้อสังเกต          เมื่อเติมเกลือลงไปในน้ำเดือด จะเกิดฟองมากขึ้น แล้วก็หยุดเดือด หลังจากนั้นอีกสักครู่น้ำจะกลับเดือดอีก          การใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดบริเวณน้ำด้านข้างของหม้อต้มน้ำ จะวัดอุณหภูมิได้สูงกว่าการวัดอุณหภูมิบริเวณใจกลางของหม้อ เพราะไฟต้มน้ำมีความร้อนแรงบริเวณรอบนอก ดังนั้นให้วัดค่าที่จะบันทึกจริงบริเวณใจกลางของหม้อ 
การคำนวณ- ปริมาณเกลือแกงที่ใช้ในการทดลอง # 1 :   0+1  =  1  ช้อนโต๊ะ- ปริมาณเกลือแกงที่ใช้ในการทดลอง # 2 :   1+1  =  2  ช้อนโต๊ะ
ผลการทดลอง
     อุณหภูมิน้ำเดือด(ควบคุม)                                               212.9 F      จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 1                  1 ช้อนโต๊ะ      อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเติมเกลือแกง # 1                            215.6  F      จำนวนเกลือแกงทั้งหมดที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 2        2 ช้อนโต๊ะ       อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเพิ่มเกลือแกง # 2                            218.3  F
สรุปผลQ: สมมุติฐานถูกต้องหรือไม่ ?  A: ถูกต้อง  การเติมเกลือแกงทำให้น้ำเดือดที่อุณหภูมิสูงขึ้นQ: ปัญหาที่เกิดในระหว่างการทดลอง  A: การอ่านอุณหภูมิทำได้ยาก ต้องใส่ถุงมือป้องกันมือจากความร้อน และต้องระวังไม่ให้ความร้อนรบ     กวนจากเตามาถึงเทอร์โมมิเตอร์Q: สิ่งที่เรียนรู้อื่นๆ A: ให้ระวังขณะเติมเกลือลงในน้ำเดือด เพราะมันจะทำให้น้ำเดือดอย่างรุนแรงเป็นเวลา 1-2 วินาที
คำถามข้างเคียงQ: คุณคิดว่าตำราทำอาหารแนะนำให้ใส่เกลือแกงลงไปในน้ำต้มเดือดเพื่ออะไร?  A: เมื่อน้ำถูกทำให้ร้อนขึ้นโดยเกลือ คุณสามารถทำอาหารได้เร็วขึ้น  และเกลือก็ยังทำให้อาหาร      รสดีขึ้น
 

ในการดำเนินการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เราจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
วิธีการทางวิทยาศาสตร์มีหลายรูปแบบ
          การพิสูจน์หรือหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างสาขากัน  สามารถใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

ที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างเช่น วิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี  ฟิสิกส์) มักจะใช้วิธีการทดลอง  แล้วจึงเก็บข้อ
มูลเป็นตัวเลข จากนั้นจึงนำมาประมวลเป็นข้อสรุป  ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น
มานุษวิทยา ที่ทำการศึกษาโดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต หรือสัมภาษณ์
          กรณี วิทยาศาสตร์กายภาพ ข้อมูลจากการทดลองซึ่งเป็นตัวเลขถูกนำมาประมวลสร้างเป็น 
ตาราง หรือกราฟ หรือสมการ ซึ่งสามารถใช้ในการทำนายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ส่วนวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ใช้วิธีบันทึกข้อมูลจากการสัมภาษณ์ หรือการสังเกต แล้วนำมาประมวลสรุปผลในรูปของการพรรณนา หรือการอนุมาณ
          ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จะต้องคำนึงว่าเขากำลังทำการศึกษาวิทยาศาสตร์ในเรื่องใดด้วยวิธีที่ถูก

ต้องหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่สามารถเข้าถึงความจริงได้ตามวัตถุประสงค์
ปัจจัยในการดำเนินงานทดลองทางวิทยาศาสตร์การตั้งคำถาม          เริ่มต้นด้วยการที่คุณสังเกตสรรพสิ่ง แล้วเกิดสงสัย  จึงตั้งคำถามขึ้น แล้วดำเนินการหาคำตอบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ข้อสงสัยหรือปัญหาที่คุณตั้งขึ้น จะต้องสามารถหาคำตอบ หรือพิสูจน์ได้จากการทำการทดลอง ซึ่งบางคำถามก็ทำการทดลองเพื่อหาคำตอบง่าย ส่วนบางคำถามก็หาคำตอบโดยทำการทดลองได้ยากแตกต่างกันไป          ยกตัวอย่างเช่น คำถาม "เกลือหรือน้ำตาลละลายน้ำได้ดีกว่ากัน?" เป็นคำถามที่สามารถหาคำตอบได้จากการทดลองโดยง่าย แต่ถ้าเป็นคำถาม "ไก่เกิดก่อนไข่ หรือไข่เกิดก่อนไก่ ?" หรือคำถาม "ชนชาติ A หรือชนชาติ B กินเก่งกว่ากัน?" จะเห็นได้ว่าคำถามประเภทนี้เป็นคำถามที่หาคำตอบจากการทดลองได้ยาก เพราะคำถามมีลักษณะกว้าง และจัดสถานะการณ์ หรือกำหนดตัวแปรการทดลองทำได้ยาก          คำถามที่มีความกว้าง และความแคบไม่เท่ากันทำให้การออกแบบการทดลองที่จะหาคำตอบมีลักษณะแตกต่างกันไปด้วย  ตัวอย่าง เช่น ใช้คำถามว่า "ต้นฟ้าทะลายโจรมีประโยชน์อะไรบ้าง?" จัดเป็นคำถามแบบกว้าง คำตอบที่ได้ก็จะเป็นแบบกว้างด้วย (นั่นคือสามารถตอบได้หลายอย่าง)          แต่ถ้าเป็นคำถามว่า "ต้นฟ้าทะลายโจร เป็นพืชตระกูลอะไร?"   "ใช้รักษาโรคอะไร?"  "มีประสิทธิภาพการรักษาขนาดไหน?" เหล่านี้เป็นคำถามแบบแคบ          มีข้อสังเกตว่าคำถามแบบกว้างมักจะหาคำตอบจากการสอบถามผู้รู้หรือค้นหาเอกสารแล้วนำมาประมวลเป็นคำตอบ และเป็นคำถามต้นๆในกรณีที่ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้น ขณะที่คำถามที่แคบเป็นการหาคำตอบที่เฉพาะขึ้น และมักจะหาคำตอบได้จากการทดลอง          นอกจากนี้จะเห็นว่าคำถามที่แคบลงก็มีทิศทางว่าใกล้ถึงจุดประสงค์ซึ่งอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง          ความสงสัยที่นักวิทยาศาสตร์ได้นำมาตั้งคำถามขึ้น นักวิทยาศาสตร์จะสมมุติคำตอบขึ้นมาก่อนโดยอาศัยหลักวิชาการ และข้อมูลที่มีอยู่  คำตอบที่สมมุติขึ้นไว้ก่อนนี้ เราเรียกว่า "สมมุติฐาน" การตั้งสมมุติฐานขึ้นก่อนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์  ยกตัวอย่าง เช่น เราสงสัยว่า นาย ก เป็นคนดีหรือไม่ เราอาจจะตั้งสมมุติฐานขึ้นว่านาย ก เป็นคนดี จากนั้นจึงออกแบบการทดลองขึ้นเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานว่านาย ก เป็นคนดี  โดยการทดลองจะเป็นไปตามแนวทางที่ว่าถ้านาย ก เป็นคนดีแล้ว เราทำการ……..(เหตุหรือ input) กับนาย ก แล้ว นาย ก จะสนองตอบโดย……..(ผลหรือ output)          ซึ่งจะเห็นว่าการตั้งสมมุติฐานไว้ก่อนแล้วจึงออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน เป็นการสะดวกในแง่ที่ได้กำหนดกรอบในการหาคำตอบตามวิธีวิทยาศาสตร์ที่สามารถกระทำได้
ความสัมพันธ์กันของ เหตุ และ ผล          วิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นการหาความจริงของธรรมชาติโดยยึดหลักว่า คำตอบหรือความจริงใดๆทางวิทยาศาสตร์ประกอบขึ้นด้วยคู่ของ เหตุ และ ผล ซึ่งสัมพันธ์กัน ดังนั้นถ้าเหตุและผลคู่ใดมความสัมพันธ์กัน แสดงว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง เราสามารถพิสูจน์ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของเหตุและผลโดยการทดลอง และเฝ้าสังเกตระบบที่ศึกษาซ้ำหลายๆครั้ง
ประโยชน์จากการทราบคำตอบหรือความจริง          ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เราจะพยายามหาความสัมพันธ์ของ เหตุ และ ผล ของความจริงหนึ่งๆให้พบ โดยการใส่ตัวแปรต้น (เหตุ) เข้าไปในระบบ แล้วบันทึกตัวแปรตาม (ผล) ที่ออกมาจากระบบ ตัวแปรทั้งสองถ้ามีความสัมพันธ์กันก็หมายถึงตัวแปรทั้งสองเป็น เหตุ และผล คู่ที่สัมพันธ์กันในความจริงทางธรรมชาติหนึ่งๆ          การที่เราค้นพบความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุและผล หรือ ความจริงนั้น ทำให้เราสามารถนำไปทำนายหรือควบคุมสิ่งต่างๆให้เป็นประโยชน์ไปตามที่เราต้องการได้ ยกตัวอย่าง เช่น จากการที่เราพบความจริงของน้ำที่ว่าถ้าเราเพิ่มอุณหภูมิถึง 100 องศาเซลเซียส น้ำจะเดือด และเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ ซึ่งจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เราสามารถนำความจริงอันนี้ไปสร้างเป็นเครื่องจักรไอน้ำ          นักวิทยาศาสตร์อาจจะมีแรงจูงใจให้ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์จากความอยากรู้อยากเห็นส่วนตนอยู่ส่วนหนึ่ง แต่แรงจูงใจจะเพิ่มขึ้นถ้าเขาเห็นประโยชน์ของงานที่ทำว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริงอย่างไรบ้าง
ค่าผิดพลาดจากการทดลอง          กรณีที่ค่าที่วัดได้มีปัญหาโดยอาจจะมีค่ามากหรือน้อยกว่าที่คิดไว้ หรือการวัดค่าซ้ำในระบบที่เหมือนกันให้ค่าที่แตกต่างกัน แสดงว่ามีต่าผิดพลาด (error) เกิดขึ้นแล้ว          การแก้ไขในเบื้องต้นให้ตรวจสอบวิธีการวัด หรือเครื่องมือวัดว่ามีอะไรผิดปกติหรือน่าสงสัยหรือไม่ เช่น อ่านสเกลผิด  สารเคมีเสื่อม  เครื่องมือเก่าหรือชำรุด          ถ้าหากไม่มีอะไรผิดปกติเกี่ยวกับวิธีการหรืออุปกรณ์วัด ก็ให้หาสาเหตุของค่าผิดพลาดต่อไปโดยให้กำหนดค่าผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็น 2 ลักษณะคือ  ค่าผิดพลาดแบบสุ่ม (random error) และ ค่าผิดพลาดจากระบบ (systematic error)           ค่าผิดพลาดแบบสุ่มเป็นค่าผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อย สามารถพบได้เป็นปกติ หรือเป็นธรรมชาติของตัวอย่างนั้นๆ ค่าผิดพลาดแบบสุ่มจะทำให้ค่าที่วัดตัวอย่างเดิมแต่ละคราวมีค่าแตกต่างกัน  ค่าแตกต่างจะเป็นไปได้ทั้งค่าบวกและค่าลบ แต่จะเป็นไปแบบสุ่ม  เราสามารถใช้สถิติมาลดค่าผิดพลาดนี้ โดยทำการทดลองซ้ำหลายครั้ง แล้วคิดผลลัพธ์ค่าที่ได้เป็นค่าเฉลี่ย  ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ในการวัดแต่ละครั้งให้ค่าแกว่งหรือแตกต่างกันมาก ค่าผิดพลาดแบบสุ่มก็ยิ่งมีค่ามาก การแก้ไขทำได้โดยเพิ่มการทดลองหลายหนแล้วนำมาคิดค่าเฉลี่ย จึงจะได้ค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงค่าจริง          ส่วนค่าผิดพลาดจากระบบเป็นค่าผิดพลาดที่มีโอกาสการเกิดน้อยกว่าค่าผิดพลาดแบบสุ่ม อีกทั้งโอกาสที่จะตรวจพบก็ยากกว่าทั้งนี้เพราะความคงเส้นคงวา หรือการวัดซ้ำของผลที่ได้มีค่าใกล้เคียงกัน แต่ค่าที่อ่านได้เป็นค่าที่ผิดพลาดจากค่าจริงโดยอาจจะมีทิศทางเป็นบวกหรือเป็นลบอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่าง เช่น ไม้บรรทัดที่มีปลายขาดหายไป 1 นิ้ว ทำให้ค่าเริ่มต้นที่ 2 นิ้ว ทำให้ผลที่อ่านได้มีค่ามากกว่าค่าจริง 1 นิ้วตลอดเวลา (ค่าผิดพลาดทิศทางเป็นบวก)          วิธีการแก้ไข นักวิทยาศาสตร์มักจะทำการทดลองโดยใช้การวัดมากกว่า 1 วิธี ซึ่งถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด การวัดทั้งสองวิธีก็จะอ่านค่าได้เท่ากัน          การหาสาเหตุที่ทำให้เกิดค่าผิดพลาดบางครั้งต้องขอให้บุคคลอื่นทำการทดลองเดียวกันเปรียบเทียบกับที่คุณทำ หรือขอความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์ให้มาช่วยตรวจสอบการทดลองในขั้นต่างๆ เพราะบางครั้งเราก็ต้องการแง่คิดหรือมุมมองที่แตกต่างกันจากผู้อื่นในการช่วยให้มองเห็นปัญหาที่เรามองไม่เห็น
ทำอย่างไรถ้าโครงงานวิทยาศาสตร์ไม่เป็นไปตามที่หวัง          ไม่ว่าผลการทดลองจะออกมาเป็นอย่างไรคุณก็ได้เรียนรู้บางสิ่งจากการทดลองแล้ว แม้ว่าการทดลองของคุณจะไม่ได้ตอบคำถาม หรือไม่ได้ให้ผลอย่างที่หวังไว้ แต่มันก็ทำให้เกิดไอเดียที่จะใช้ในการออกแบบการทดลองอื่นต่อไป การเรียนรู้จากการทดลองหนึ่งๆ ถือว่าเป็นบทเรียนที่มากพอสมควร และถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการก้าวต่อไปที่จะหาคำตอบ นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาปัญหาที่ซับซ้อนอาจใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อหาคำตอบ แม้กระนั้นเขาก็อาจจะยังไม่พบคำตอบ แต่ผลการทดลองของเขามีคุณค่า ซึ่งในที่สุดอาจจะมีใครสักคนจะนำผลนั้นไปใช้ในการทดลองของเขา และพบคำตอบ ซึ่งใครคนนั้นอาจจะเป็นคุณก็ได้

                        ขั้นตอนของโครงงานวิทยาศาสตร์

          โดยทั่วไปแล้วการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จะประกอบด้วยขั้นตอนใหญ่ๆ 4 ขั้นคือ  การเฝ้าสังเกต    ตั้งสมมุติฐาน    ควบคุมการทดลอง  และสรุปผล แต่ที่จริงแล้วการดำเนินการทดลองจะประกอบด้วยขั้นตอนมากกว่านั้น ดังที่จะแสดงต่อไปนี้
1. เฝ้าสังเกต          คุณสังเกตเห็นบางสิ่งที่น่าสนใจ และสงสัยว่าทำไมสิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น คุณอยากจะทราบสาเหตุ  คุณอยากรู้ว่าของบางสิ่งทำงานอย่างไร และทำไมจึงทำงานได้ คุณได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณสังเกต และต้องการที่จะตรวจสอบ ขั้นตอนแรกคุณจึงต้องสังเกตและเขียนบันทึกสิ่งที่คุณสังเกตเห็นให้ชัดเจน
2. รวบรวมข้อมูล          ทำการค้นคว้าหาข้อมูลในสิ่งที่คุณต้องการตรวจสอบโดยการ อ่านหนังสือ  อ่านวารสาร หรือสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น  สุดท้ายอย่าลืมบันทึกแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย
3. ตั้งชื่อเรื่อง           การตั้งชื่อเรื่อง ควรจะต้องสั้น และ บอกสาระสำคัญที่คุณกำลังตรวจสอบ
4. วัตถุประสงค์          คุณต้องการตรวจสอบอะไร  โดยวิธีการอย่างไร และผลที่ได้นำไปใช้ทำอะไรหรือไม่ คุณจะต้องเขียนแสดงสิ่งเหล่านี้ออกมา โดยใช้ข้อมูลจากการสังเกต และการหาข้อมูลเบื้องต้นของคุณ
5. เลือกตัวแปร          จากข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมไว้เกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการตรวจสอบ พิจารณาเลือกว่าตัวแปรอะไรที่มีผลต่อระบบ ก่อนที่จะตั้งสมมุติฐานต่อไป
6. ตั้งสมมุติฐาน          เมื่อคุณศึกษาตัวแปรที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับระบบ แล้ว จงคิดถึงการทดลองที่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรครั้งละหนึ่งตัวแปร (กรณีที่มีตัวแปรมากกว่าหนึ่งตัวแปร) ทั้งนี้เพราะถ้าคุณทดลองโดยเปลี่ยนค่าตัวแปรไปทีละมากกว่าหนึ่งตัวแปร คุณก็จะไม่สามารถทราบได้ว่าตัวแปรใดเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดผลต่อระบบ บางครั้งตัวแปร 2 ตัวในระบบเดียวกันจะมีผลร่วมกัน ดังนั้นคุณจะต้องพยายามเลือกใช้ตัวแปรที่ไม่มีผลร่วมกับตัวแปรอื่น            ถึงจุดนี้ คุณก็พร้อมแล้วที่จะเปลี่ยนคำถามเป็นสมมุติฐาน ซึ่งสมมุติฐานก็คือคำถาม (หรือคำตอบที่สมมุติขึ้น) ที่สามารถทดสอบได้ด้วยการทำการทดลอง          ในโครงงานวิทยาศาสตร์หนึ่ง คุณอาจจะตั้งคำถามได้หลายคำถาม ในแต่ละคำถาม หรือข้อสงสัยก็จะมี 1 สมมุติฐาน ดังนั้นคุณสามารถทำเป็นรายการของสมมุติฐาน แต่ละสมมุติฐาน คุณสามารถออกแบบการทดลองเพื่อการพิสูจน์โดยเลือกตัวแปรในการทำการทดลองที่เหมาะสม
7. ออกแบบการทดลอง                     ทำรายการสิ่งที่ต้องทำทีละขั้นเพื่อหาคำตอบแก่คำถามที่คุณตั้งไว้  รายการนี้คือกรรมวิธีทดลองนั่นเอง สำหรับการทดลองที่มีคำตอบที่เชื่อถือได้ จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ตัวควบคุม (control) ซึ่งตัวควบคุมนี้ก็คือการทดลองที่ทำไปโดยไม่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรที่ใช้ในการทดลอง ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้เกิดเป็นตัวเปรียบเทียบหรืออ้างอิงให้เห็นความแตกต่างระหว่างการทดลองที่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรและไม่มีการเปลี่ยนตัวแปร ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปได้ว่าระบบมีผลลัพธ์แปรตามตัวแปรการทดลองหรือไม่          ยกตัวอย่าง เช่น ในการปรุงอาหารสูตร ก  เรามีสมมุติฐานว่า ถ้าใส่ผงชูรสลงไปจะทำให้อร่อยขึ้น เมื่อทำการทดลองเราจะต้องมีการเปลี่ยนค่าตัวแปร คือใส่ผงชูรสลงไปในสูตรอาหารที่ความเข้มข้นต่างๆ และการทดลองที่เป็นตัวควบคุมคือไม่ใส่ผงชูรสลงในสูตรอาหารนั้นเลย  จากนั้นจึงนำสูตรอาหารที่เตรียมขึ้นมาวัดค่าความอร่อยเปรียบเทียบกัน          นอกจากนี้การทำการทดลองจะต้องมีการทำซ้ำเพื่อยืนยันการได้ค่าเดิม (reproducible) ซึ่งการทำซ้ำนี้จะช่วยลดค่าความผิดพลาดที่เกิดจากการทดลองด้วย          สรุปแล้วการออกแบบการทดลองให้คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ตามลำดับ- ตัวแปรมีหลายตัวแปร แต่ตัวแปรที่คุณเลืออกมาใช้จะต้องช่วยคุณตอบปํญหาที่ตั้งไว้- เปลี่ยนค่าตัวแปรเพียงตัวเดียวในการทดลอองแต่ละครั้ง- ในกรรมวิธีที่คุณเขียนขึ้นจะต้องบอกถึงววิธีการเปลี่ยนค่าตัวแปรนี้ว่าคุณทำอย่างไร- ในกรรมวิธียังต้องบอกวิธีการวัดปริมาณขอองผลลัพธ์ที่เปลี่ยนไปว่าคุณวัดอย่างไร- ในการทดลองจะต้องมีตัวควบคุม เพื่อเป็นตตัวเปรียบเทียบ ทำให้คุณทราบว่าตัวแปรทดลองของ  คุณมีผลต่อระบบจริงหรือไม่
8. จัดหาวัสดุ และอุปกรณ์          ทำบัญชีรายชื่อของสิ่งที่คุณต้องการใช้ในการทดลอง แล้วทำการจัดหามา หลายสิ่งอาจจะมีอยู่แล้วในสถานการศึกษาของคุณเอง วัสดุหรือสารเคมีถ้าเป็นเกรดที่ใช้ในอุตสาหกรรม จะมีราคาถูกกว่าเกรดที่บริสุทธิ์สูงที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเคมีอยู่ค่อนข้างมาก ฉะนั้นขอให้พิจารณาประกอบกันไปด้วย ส่วนสารเคมีที่มีความบริสุทธิ์สูง และราคาแพงหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายสารเคมี และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ สารเคมีที่ความบริสุทธิ์ปานกลาง (มักจะมีจุดประสงค์ใช้ในการศึกษาระดับโรงเรียน) หาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์การศึกษาขนาดใหญ่ เช่น ร้านศึกษาภัณฑ์  สารเคมีเกรดอุตสาหกรรมอาจจะติดต่อขอตัวอย่างสารได้ฟรีจากตัวแทนจำหน่ายบางร้าน (เป็นการส่งเสริมการขาย) ซึ่งบรรดาตัวแทนจำหน่ายต่างๆนี้คุณสามารถเสาะหาติดต่อได้จากสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง
9. ทำการทดลอง และบันทึกข้อมูล          บ่อยครั้งที่การทดลองจะทำเป็นชุดการทดลอง  ใน 1 ชุดการทดลองประกอบด้วยการทดลองย่อยๆที่มีการเปลี่ยนค่าตัวแปรให้แปรผันไม่เท่ากันในแต่ละการทดลองย่อย ตัวอย่างเช่นคุณศึกษาผลของเกลือแกงในการเปลี่ยนแปลงจุดเดือดของสารละลาย  ในการทดลองนี้คุณอาจจะแบ่งเป็นการทดลองย่อย 5 การทดลอง โดยแต่ละการทดลองประกอบด้วยสารละลายซึ่งเตรียมขึ้นโดยเติมเกลือที่เข้มข้นไม่เท่ากัน เช่น 1%     2%    3%   4% และ 5% ตามลำดับ  จากนั้นคุณจึงวัดจุดเดือดของสารละลายทั้ง 5           การบันทึกข้อมูลควรจะทำเป็นตาราง สิ่งที่คุณบันทึกในขั้นนี้ถือเป็นข้อมูลดิบ ซึ่งมักจะได้แก่ค่าต่อไปนี้  ปริมาณสารเคมีที่ใช้   ระยะเวลาที่ใช้    ค่าที่วัดได้   ข้อมูลดิบเหล่านี้จะต้องผ่านการคำนวณ หรือประมวลผลเสียก่อนจึงจะสรุปเป็นผลการทดลองได้
10. บันทึกข้อสังเกต          ระหว่างทำการทดลองให้สังเกต และบันทึกเป็นข้อสังเกตไว้ เช่น ปัญหาที่พบ  สิ่งที่น่าสนใจ   ทุกอย่างที่คุณทำ  และทุกอย่างที่เกิดขึ้น  ข้อสังเกตเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากเมื่อคุณเขียนบทสรุป หรือเมื่อต้องการวิเคราะห์หาข้อผิดพลาดจากการทดลอง   
11. คำนวณ          นำข้อมูลดิบมาคำนวณได้เป็นตัวเลขที่คุณพร้อมจะนำไปเขียนบทสรุป ยกตัวอย่าง เช่น คุณชั่งภาชนะ แล้วบันทึกในช่องข้อมูลดิบคือ "น้ำหนักภาชนะ" จากนั้นคุณเติมดินลงไปจำนวนหนึ่ง แล้วนำภาชนะไปชั่งน้ำหนักอีกครั้งแล้วบันทึกในช่องข้อมูลดิบช่อง "น้ำหนักภาชนะ + ดิน" ในภาคการคำนวณ คุณต้องคำนวณหาว่าใช้ดินไปเป็นจำนวนเท่าไรในการทดลองแต่ละครั้งโดยการคำนวณดังนี้
                        (น้ำหนักภาชนะ + ดิน)  -  (น้ำหนักภาชนะ)   =  น้ำหนักของดินที่ใช้
          ผลของการคำนวณที่ได้ให้นำไปบันทึกในช่องผลลัพธ์ของตารางในช่อง "น้ำหนักของดินที่ใช้"
12. รวบรวมผลลัพธ์          นำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมาแสดงในรูปของตัวเลขในตาราง  หรือกราฟ หรืออาจจะอยู่ในรูปคำบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลอง
13. เขียนบทสรุป          ผลลัพธ์และการคำนวณที่ได้จากการทดลองทำให้คุณสามารถเห็นแนวโน้มของตัวแปรต่างๆที่ทำให้เกิดผลต่างๆในการทดลอง ด้วยแนวโน้มนี้ คุณสามารถเขียนสรุปเกี่ยวกับระบบที่ศึกษา ซึ่งข้อสรุปนี้ทำให้เราสามารถพิสูจน์สมมุติฐานว่าถูกต้องหรือไม่          นอกจากนี้ในบทสรุปยังมักจะมีสิ่งต่อไปนี้- ถ้าสมมุติฐานของคุณไม่ถูกต้อง คำตอบที่แแท้ควรจะเป็นอะไร- ประมวลความยากหรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่่างทำการทดลอง เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขใน  การทำการทดลองคราวหน้า- คุณต้องการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีทดลอง และะทำการทดลองนี้ซ้ำอีกหรือไม่- อะไรที่คุณคิดว่าจะทดลองแตกต่างออกไปในกการทดลองคราวหน้า- บันทึกรายการสิ่งที่คุณได้เรียนรู้- พยายามตอบคำถามที่เกิดขึ้นใหม่จากการทดลลอง เพื่อตั้งสมมุติฐานที่สามารถทำการทดสอบได้อีก  ในคราวต่อไป

 ตัวอย่างการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ (ระดับประถมปีที่ 4) :   ผลของเกลือที่มีต่อจุดเดือดของน้ำ

เฝ้าสังเกต          ตำราทำอาหารบอกว่าให้เติมเกลือลงน้ำก่อนน้ำจะเดือด
ชื่อเรื่อง          ผลของเกลือที่มีต่อจุดเดือดของน้ำ
วัตถุประสงค์ของโครงงาน          เพื่อศึกษาว่าเกลือแกงธรรมดามีผลต่อจุดเดือดของน้ำอย่างไร
สมมุติฐาน          การเติมเกลือแกงลงไปในน้ำที่กำลังต้มอยู่ทำให้อุณหภูมิจุดเดือดของน้ำสูงขึ้น
วัสดุ และอุปกรณ์- เกลือแกง- น้ำกลั่น- ถ้วยตวงหน่วยเป็นไปนต์- หม้อต้มขนาดบรรจุ 2 ควอท- ช้อนชา และ ช้อนโต๊ะ- เทอร์โมมิเตอร์- ช้อนคนสาร
วิธีการทดลอง1. ต้มน้ำ 1 ควอทบนเตา2. เมื่อน้ำเดือด  วัดอุณหภูมิที่สูงสุด  ค่าที่วัดนี้ถือเป็นค่าควบคุม เพื่อเปรียบเทียบกับ3. ตวงเกลือแกงจำนวน 1 ช้อนโต๊ะปาดเรียบ4. ใส่ลงไปในน้ำที่เดือด แล้วคน5. วัดอุณหภูมิของน้ำเดือดที่มีเกลืออยู่ โดยบันทึกอุณหภูมิสูงสุดไว้6. ทำการทดลองซ้ำโดยเติมเกลือเพิ่มอีก 1 ช้อนโต๊ะปาดเรียบ
ข้อมูล              ทำการทดลองเมื่อ   25/2/95
      จำนวนน้ำเดือด                                                   2  ถ้วย      อุณหภูมิน้ำเดือด (ควบคุม)                                     212.9 F      จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 1          1 ช้อนโต๊ะ      อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเติมเกลือแกง # 1                    215.6 F      จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 2          1 ช้อนโต๊ะ       อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเพิ่มเกลือแกง # 2                   218.3  F
บันทึกข้อสังเกต          เมื่อเติมเกลือลงไปในน้ำเดือด จะเกิดฟองมากขึ้น แล้วก็หยุดเดือด หลังจากนั้นอีกสักครู่น้ำจะกลับเดือดอีก          การใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดบริเวณน้ำด้านข้างของหม้อต้มน้ำ จะวัดอุณหภูมิได้สูงกว่าการวัดอุณหภูมิบริเวณใจกลางของหม้อ เพราะไฟต้มน้ำมีความร้อนแรงบริเวณรอบนอก ดังนั้นให้วัดค่าที่จะบันทึกจริงบริเวณใจกลางของหม้อ 
การคำนวณ- ปริมาณเกลือแกงที่ใช้ในการทดลอง # 1 :   0+1  =  1  ช้อนโต๊ะ- ปริมาณเกลือแกงที่ใช้ในการทดลอง # 2 :   1+1  =  2  ช้อนโต๊ะ
ผลการทดลอง
     อุณหภูมิน้ำเดือด(ควบคุม)                                               212.9 F      จำนวนเกลือแกงที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 1                  1 ช้อนโต๊ะ      อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเติมเกลือแกง # 1                            215.6  F      จำนวนเกลือแกงทั้งหมดที่ใส่ลงไปในน้ำเดือดครั้ง # 2        2 ช้อนโต๊ะ       อุณหภูมิน้ำเดือดหลังเพิ่มเกลือแกง # 2                            218.3  F
สรุปผลQ: สมมุติฐานถูกต้องหรือไม่ ?  A: ถูกต้อง  การเติมเกลือแกงทำให้น้ำเดือดที่อุณหภูมิสูงขึ้นQ: ปัญหาที่เกิดในระหว่างการทดลอง  A: การอ่านอุณหภูมิทำได้ยาก ต้องใส่ถุงมือป้องกันมือจากความร้อน และต้องระวังไม่ให้ความร้อนรบ     กวนจากเตามาถึงเทอร์โมมิเตอร์Q: สิ่งที่เรียนรู้อื่นๆ A: ให้ระวังขณะเติมเกลือลงในน้ำเดือด เพราะมันจะทำให้น้ำเดือดอย่างรุนแรงเป็นเวลา 1-2 วินาที
คำถามข้างเคียงQ: คุณคิดว่าตำราทำอาหารแนะนำให้ใส่เกลือแกงลงไปในน้ำต้มเดือดเพื่ออะไร?  A: เมื่อน้ำถูกทำให้ร้อนขึ้นโดยเกลือ คุณสามารถทำอาหารได้เร็วขึ้น  และเกลือก็ยังทำให้อาหาร      รสดีขึ้น
 

หน้าเว็บ

เรื่องราวย้อนหลัง

บทความ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

- Copyright © 2013 http://12345ohho.blogspot.com.Metrominimalist- Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -